วันจันทร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2553

สรุปวิชาการบริหารงานยุติธรรมของ มสธ.

วิชา การบริหารงานยุติธรรม 41431
-------------------------------------------

หน่วยที่ 1
การควบคุมอาชญากรรมในสังคม
-------------------------------------------------

1. อาชญากรรมคือการละเมิดกฎหมายอาญา ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน จึงต้องหาทางควบคุม ก็คือการทำให้อาชญากรรมลดลงในระดับที่คนในสังคมพอทนได้ ส่วนที่จะให้อาชญากรรมหมดไปจากสังคมนั้น ย่อมเป็นไปไม่ได้ เป็นการกล่าวตามหลักวิชาการ อาชญากรรมเป็นปัญหาสังคมอย่างหนึ่ง หากมีมากเกินไปจะเป็นภัยแก่สังคม จึงต้องควบคุมให้อยู่ในระดับที่พอทนได้ สังคมควบคุมอาชญากรรมโดยอาศัยบุคคล กลุ่มบุคคล และสถาบัน
2. สถาบันสังคมที่มีส่วนอย่างมากต่อการควบคุมอาชญากรรม ได้แก่ ครอบครัว การศึกษา ศาสนา สื่อมวลชน ธุรกิจเอกชน กฎหมายและประเพณี และการเมือง การปกครอง
3. บุคคล กลุ่มบุคคล และสถาบัน จำต้องมีแนวทางและเทคนิคในการควบคุมอาชญากรรม แนวทางและเทคนิคที่สำคัญ มีอาทิ อุดมการณ์และภาวะผู้นำ การควบคุมทางเศรษฐกิจ การใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การใช้ศิลปะและวัฒนธรรม การใช้เวลาว่างและนันทนาการ การใช้มติมหาชน และการลงโทษ
4. การควบคุมอาชญากรรม หมายถึง การทำให้อาชญากรรมในสังคมลดลงอยู่ในระดับที่พอทนได้ ซึ่งกล่าวโดยสรุปได้ว่า เรามีการกระทำที่สำคัญอยู่ 3 ประการ คือ การป้องกัน การปราบปราม และการแก้ไขฟื้นฟู
5. การควบคุมอาชญากรรมอาจจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ การควบบคุมด้วยการใช้ระบบงานยุติธรรม และด้วยการขัดเกลาทางสังคม
6. ในการควบคุมอาชญากรรม บุคคลและกลุ่มบุคคลมีบทบาทอย่างสำคัญ กล่าวคือ บุคคลจะต้องคอยควบคุมตนเองและร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ของบ้านเมือง กลุ่มบุคคลก็ต้องพยายามบังคับให้สมาชิกของกลุ่มปฏิบัติตามกฎหมายบ้านเมือง ขณะเดียวกันก็ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่เพื่อแก้ปัญหาอาชญากรรมตามควรแก่กรณี
7. การควบคุมอาชญากรรม คือ การทำให้อาชญากรรมลดลงอยู่ในขั้นที่พอทนได้ ผู้ที่จะช่วยลดอาชญากรรมก็คือบุคคลทุกคน ในการควบคุมนั้นอาจทำกันเป็นกลุ่ม หรือเป็นองค์การ หรือเป็นสถาบันก็ได้ สถาบันที่สำคัญในการลดอาชญากรรมก็คือ ครอบครัว โรงเรียน และสถาบันยุติธรรม
8. การควบคุมอาชญากรรมมี 2 ประเภท คือ การควบคุมโดยใช้ระบบงานยุติธรรม ซึ่งประกอบด้วยองค์กรสำคัญคือ ตำรวจ อัการ ศาล คุมประพฤติ และราชทัณฑ์ และการควบคุมโดยการขัดเกลาทางสังคม ซึ่งต้องอาศัยบุคคล กลุ่มบุคคลและสถาบัน คอยถ่ายทอดความรู้ ความคิด ค่านิยมและทัศนคติที่ถูกต้องให้แก่บุคคลในสังคม
9. บุคคอาจจะควบคุมอาชญากรรมได้โดยการตั้งตนเป็นคนเคารพกฎหมายบ้านเมือง หรือร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการให้ข่าว จับกุม หรือเป็นพยานในศาลเมื่อเกิดคดีขึ้น ส่วนกลุ่มบุคคลนั้นอาจจะควบคุมอาชญากรรมโดยการตั้งเป็นชมรมหรือสมาคม จัดเวรยามลาดตระเวนในเขตพื้นที่ที่อาศัยอยู่ นอกจากนี้อาจจะร่วมมือกันพัฒนาท้องถิ่นให้น่าอยู่น่าอาศัย ก็จะเป็นการแก้ปัญหาอาชญากรรมได้
10. สถาบันสังคม คือ โครงสร้างทางสังคม ซึ่งได้รับการจัดเตรียมไว้อย่างมั่นคง เพื่อเผชิญกับปัญหาพื้นฐานที่เกิดขึ้นจากการกระทำของคน สถาบันสังคมตั้งขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาสังคม อาชญากรรมเป็นปัญหาสังคมอย่างหนึ่ง จึงเป็นหน้าที่ของสถาบันที่จะต้องแก้ไข
11. สถาบันสังคมเบื้องต้น ได้แก่ ครอบครัว โรงเรียน และศาสนา คอยควบคุมให้คนมีระเบียบวินัย มีศีลธรรม และเคารพกฎระเบียบของสังคม เพราะถือว่าสถาบันทั้งสามประการนี้มีความสำคัญต่อการควบคุมอาชญากรรมเป็นอย่างมาก
12. สื่อมวลชนมีส่วนในการควบคุมอาชญากรรม โดยการถ่ายทอดสิ่งดีงามให้ปรากฎในสังคม ทำให้คนได้เรียนรู้ทั้งทางด้านบันเทิง ความรู้ และข่าวสารต่าง ๆ
13. ธุรกิจเอกชนควบคุมอาชญากรรม โดยการถ่ายทอดสิ่งดีงามให้ปรากฎในสังคม ทำให้คนได้เรียนรู้ทั้งทางด้านบันเทิง ความรู้ และข่าวสารต่าง ๆ
14. กฎหมายและประเพณีเป็นสถาบันอันสำคัญที่จะคอยควบคุมอาชญากรรมโดยมิให้มีการละเมิดสิทธิของกันและกัน และยังทำให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ
15. การเมืองการปกครองมีส่วนในการควบคุมอาชญากรรม โดยร่วมกันออกกฎหมาย ตีความกฎหมาย บังคับใช้กฎหมาย ตลอดทั้งการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
16. ครอบครัวแสดงบทบาทโดยการพัฒนาเยาวชนในด้านอารมณ์ สติปัญญา ศีลธรรม ความเจริญทาร่างกายและความเจริญทางสังคม ส่วนโรงเรียนก็พัฒนาเยาวชนในด้านดังกล่าวต่อจากครอบครัว สำหรับศาสนานั้นส่งเสริมให้คนประพฤติอยุ่ในศีลในธรรม ครอบครัว โรงเรียน และศาสนา จึงทำให้คนเป็นคนดี ไม่กลายเป็นอาชญากรไป หากสถาบันดังกล่าวดำเนินกิจกรรมไปอย่างมีคุณภาพ ก็ย่อมสร้างคนให้เป็นคนดีได้
17. ครอบครัวที่จะทำให้เกิดอาชญากรรมมี 4 ประเภท คือ 1. ครอบครัวที่ขาดพ่อหรือแม่ หรือขาดทั้งพ่อและแม่ อันเนื่องมาจากการหย่าร้าง การตาย หรือการจากกันไป 2. ครอบครัวที่มีความผิดปกติทางสังคม ศีลธรรมและวัฒนธรรม 3. ครอบครัวที่ทำหน้าที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้เกิดการกระทบกระทั่งและความวิตกกังวล 4. ครอบครัวที่ขาดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
18. สื่อมวลชนจะส่งเสริมการกระทำผิดของเด็กและเยาวชน ต่อเมื่อสื่อมวลชนนั้นทำให้เกิดการหลงผิด หรือสนับสนุนความคิดที่ผิด ๆ ให้แก่เด็กและเยาวชน ทำให้เด็กและเยาวชนรับเอาสิ่งที่ผิด ๆ มาเป็นแนวทางในการประพฤติปฎิบัติ จึงก่อให้เกิดการกระทำที่ผิดกฏหมายได้
19. ธุริกจเอกชนแสดงบทบาทในการควบคุมอาชญากรรมโดยการควบคุมสมาชิกขององค์กร ให้เคารพกฎหมาย โดยอาศัยกฎและการลงโทษเมื่อมีการปฏิบัติผิดกฏ นอกจากนี้ธุรกิจเอกชนยังสามารถช่วยเหลือสถาบันยุติธรรมในด้านความรู้ทางเทคนิคและเงินทอง เช่น ช่วยเหลือกรมตำรวจ จัดซื้ออุปกรณ์ในการต่อสู้กับอาชญากร ช่วยเหลือด้านอาหาร เครื่องนุ่งห่ม และด้านความรู้แก่กรมราชทัณฑ์ เป็นต้น
20. กฎหมายและประเพณีมีอิทธิพลต่อการควบคุมอาชญากรรม เพราะว่ากฏหมายทำให้คนต้องปฏบัติตาม เพราะมีสภาพบังคับ คือ ใครทำผิดก็จะได้รับโทษ ส่วนประเพณีทำให้คนรักใคร่ปรองดอง เคารพนับถือกัน หากใครไม่ปฏิบัติตามก็จะถูกรังเกียจและอาจจะถูกตัดขาดจากการเข้ากลุ่มได้
21. มีทฤษฎีหลายทฤษฎีได้อธิบายให้ทราบว่ากฎหมายเกิดขึ้นในสังคมได้อย่างไร ได้แก่ ทฤษฎีที่หนึ่งกล่าวว่ากฎหมายเกิดจากความผิดที่กระทำแก่บุคคล เมื่อมีความผิดเกิดขึ้นก็ต้องการชดใช้ความผิด ทฤษฎีที่สองกล่าวว่ากฎหมายเกิดจากกระบวนการที่มีเหตุผลในสังคม เมื่อมีความผิดเกิดขึ้นสังคมจะเข้ามาดำเนินการแก้ไขปัญหา ทฤษฎีที่สาม กล่าวว่ากฎหมายเกิดจากประเพณี และทฤษฎีที่สี่ กล่าวว่ากฎหมายเกิดขึ้นเพราะความขัดแย้งของกลุ่มผลประโยชน์
22. รัฐบาล ทหาร และราชการพลเรือนมีบทบาทต่อการควบคุมอาชญากรรม คือ รัฐบาลมีบทบาทสำคัญในการออกกฎหมาย แก้ไขกฎหมาย และบังคับใช้กฎหมาย เพื่อการควบคุมอาชญากรรมและรัฐบาลยังแสดงบทบาทในการพัฒนาสังคมเศรษฐกิจ และการเมืองควบคู่กันไปนับเป็นการส่งเสริมคนในชาติให้มีสมรรถภาพ และเป็นคนดี ทหารควบคุมอาชญากรรมโดยร่วมมือกับสถาบันยุติธรรม และควบคุมเหล่าทหารทั้งหลายให้เคารพกฎหมายทั้งร่วมมือกับรัฐบาลและราชการพลเรือน ในการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ อีกด้วย ส่วนราชการพลเรือนควบคุมอาชญากรรมโดยการกำหนดกฎเกณฑ์ให้สมาชิกปฏิบัติตาม ร่วมมือกับสถาบันยุติธรรมในการควบคุมอาชญากรรม และมีบทบาทเป็นอย่างสูงในการพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรืองเป็นการช่วยลดปัญหาอาชญากรรมไปในตัว
23. อุดมการณ์เป็นข้อผูกมัดต่อสังคมที่ทำให้ต้องมีการปฏิบัติตาม ใครไม่ปฏบัติตามอาจจะถูกลงโทษในรูปแบบต่าง ๆ ก็ได้ ส่วนภาวะผู้นำที่ดีมีคุณภาพนั้น ส่งเสริมในการพัฒนาบุคลิกภาพ พัฒนาสังคมและพัฒนาเศรษฐกิจ คอยควบคุมพฤติกรรมของสมาชิกขององค์การให้ปฏิบัติไปในทางที่พึงประสงค์
24. การควบคุมทางเศรษฐกิจจะทำให้คนคลายจากความยากจน เมื่อคนส่วนมากอยู่ดีกินดี อาชญากรรมก็จะลดลง ความยากจนเป็นปัจจัยทางอ้อมให้เกิดอาชญากรรม อาชญากรรมจะเกิดขึ้นเมื่อมีปัจจัยอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น โอกาสอำนวย การคบเพื่อนชั่ว เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ คือ เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องแก้ไขทั้งนี้เพื่อตัดเงื่อนไขเบื้องต้นที่กอให้เกิดอาชญากรรม
25. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ทำให้เกิดความเป็นอยู่ที่ผาสุก อาชญากรรมก็จะลดลง ในหน่วยงานของสถาบันยุติธรรมนั้น วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีช่วยในการบริหาร และการปฏิบัติภารกิจของเจ้าหน้าที่ เช่น ช่วยในการจับกุมและสืบสวน สอบสวน และช่วยในการควบคุมนักโทษในเรือนจำ เป็นต้น
26. ศิลปะช่วยกล่อมเกลาจิตใจของคนให้รักความดีความงาม ไม่มีความรู้สึกป่าเถื่อน ส่วนวัฒนธรรมเป็นมาตรฐานความประพฤติของคน ทำให้เกิดความปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ละอายต่อการทำความชั่ว และมุ่งมั่นขยันทำความดี ศิลปะและวัฒนธรรมจึงเป็นสิ่งควบคุมอาชญากรรม เพราะสามารถสะกัดกั้นการกระทำในทางที่ผิดกฎหมายและทำนองคลองธรรม
27. นันทนาการและการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ จะช่วยลดความเครียดในทางอารมณ์ของคนได้ เกิดความเพลิดเพลินในการดำเนินชีวิต จะได้ประกอบกิจในทางสัมมาอาชีพ ส่วนคนที่เคยกระทำผิดกฎหมายมาแล้ว ก็อาจจะใช้นันทนาการแก้ไขจิตใจได้
28. มติมหาชนมีอิทธิพลต่อรัฐบาล ต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในการกำหนดนโยบายสาธารณะและการปฏิบัติหน้าที่เพื่อก่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม
29. การลงโทษทำให้ผู้ถูกลงโทษเกิดความทุกข์ทรมาน ไม่กล้าทำความผิดอีกและยังป้องกันมิให้คนอื่นกล้าเอาเยี่ยงย่าง เพราะหากเอาเยี่ยงอย่างก็จะถูกลงโทษด้วยเหมือนกัน การลงโทษก่อให้เกิดความมีสวัสดิภาพในสังคม ปัองกันสังคมให้ปลอดภัยจากผู้ร้าย ช่วยทำให้อาชญากรรมลดลง และการลงโทษยังเป็นการพัฒนาคนให้เป็นคนดีอีกด้วย
30. อุดมการณ์และภาวะผู้นำเป็นมรรควิธีในการควบคุมอาชญากรรม คือ อุดมการณ์เป็นข้อผูกมัดต่อสังคมที่ทำให้ต้องมีการปฏิบัติตาม ใครไม่ปฏิบัติตามอาจจะถูกลงโทษในรูปแบบต่าง ๆ ก็ได้ ส่วนภาวะผู้นำที่มีมีคุณภาพนั้น ส่งเสริมในการพัฒนาบุคลิกภาพ พัฒนาสังคมและพัฒนาเศรษฐกิจ คอยควบคุมพฤติกรรมของสมาชิกขององค์การให้ปฏิบัติไปในทางที่พึงประสงค์
31. การควบคุมทางเศรษฐกิจมีความจำเป็นต่อการควบคุมอาชญากรรม การควบคุมอาชญากรรมทางเศรษฐกิจจะทำให้คนคลายจากความยากจน เมื่อคนส่วนมากอยู่ดีกินดี อาชญากรรมก็จะลดลง ความยากจนเป็นปัจจัยทางอ้อมให้เกิดอาชญากรรม อาชญากรรมจะเกิดขึ้นเมื่อมีปัจจัยอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น โอกาสอำนวย การคบเพื่อนชั่ว เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ คือ เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องแก้ไขทั้งนี้เพื่อตัดเงื่อนไขเบื้องต้นที่ก่อให้เกิดอาชญากรรม
32. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีช่วยควบคุมอาชญากรรม โดยช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ทำให้เกิดความเป็นอยู่ที่ผาสุก อาชญากรรมก็จะลดลง ในหน่วยงานของสถาบันยุติธรรมนั้น วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีช่วยในการบริหารงาน และการปฏิบัติภารกิจของเจ้าหน้าที่ เช่น ช่วยในการจับกุมและสืบสวน สอบสวน และช่วยในการควบคุมนักโทษในเรือนจำ เป็นต้น
.
-----------------------

หน่วยที่ 2
ระบบงานยุติธรรม
---------------------------
1. ระบบงานยุติธรรม มีรูปแบบการบริหารงานเช่นเดียวกันกับระบบงานราชการอื่น ๆ และมีปรัชญาที่ใช้หลายปรัชญาด้วยกัน คือ ปรัชญาที่มุ่งต่อการลงโทษ ปรัชญาที่มุ่งต่อการแก้ไขฟื้นฟู ปรัชญาที่มุ่งต่อการใช้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรม และปรัชญาที่มุ่งต่อการป้องกันอาชญากรรม
2. ในการบริหารงานยุติธรรม และการดำเนินงานของระบบงานยุติธรรม สิ่งแรกที่ต้องมีก็คือ นโยบายของรัฐและของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3. บทบาทของระบบงานยุติธรรมมีทั้งก่อนที่อาชญากรรมจะเกิดขึ้นและหลังจากที่อาชญากรรมได้เกิดขึ้นแล้ว นั่นคือการป้องกันอาชญากรรมและการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิดทั้งที่เป็นโทษ และที่เป็นการแก้ไขฟื้นฟู ทั้งนี้เพื่อลดอัตราอาชญากรรมในสังคม
4. ระบบงานยุติธรรมที่ดำเนินการกับผู้กระทำความผิด เป็นระบบงานที่สัมพันธ์และต่อเนื่องกันไปตั้งแต่การสืบสวนสอบสวน ไปจนถึงการปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล เมื่อผู้กระทำความผิดพ้นไปจากกระบวนการยุติธรรมไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนใด แต่เมื่อผู้นั้นกระทำความผิดขึ้นอีก กระบวนการยุติธรรมก็จะดำเนินการกับผู้นั้นอีกทันที
5. โดยส่วนใหญ่ระบบงานยุติธรรมจะเน้นการดำเนินการกับผู้กระทำความผิด แต่ในปัจจุบันผู้เสียหายก็ได้รับการเอาใจใส่จากระบบงานยุติธรรมมากขึ้น
6. การบริหารงานยุติธรรมเป็นการบริหารงานราชการอย่างหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยเหตุกระบวนการบริหาร และผลคือการลดอาชญากรรม
7. ระบบงานยุติธรรม แบ่งออกเป็น 2 ระบบใหญ่ คือ ระบบควบคุมอาชญากรรม และระบบงานย่อยของชุมชน
8. ปรัชญาที่มุ่งต่อการลงโทษ ส่วนใหญ่จะเน้นที่การลงโทษผู้กระทำความผิดเพื่อยับยั้งหรือป้องกันอาชญากรรม
9. ปรัชญาที่มุ่งต่อการแก้ไขฟื้นฟู ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่การแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดให้กลับตนเป็นพลเมืองดี ด้วยวิธีการต่าง ๆ
10. ปรัชญาที่มุ่งต่อการให้ชุมชนมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรม ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่บทบาทของประชาชนและชุมชนในการแก้ไขฟื้นฟู ผู้กระทำความผิดให้กลับตนเป็นพลเมืองดี
11. ปรัชญาที่มุ่งต่อการป้องกันอาชญากรรม ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่การป้องกันอาชญากรรมก่อนที่อาชญากรรมจะเกิดขึ้นโดยเน้นที่การควบคุมสภาวะแวดล้อม
12. กระบวนการบริหารงานมี 9 ข้อ คือ
(1) นโยบาย (Policy)
(2) อำนาจหน้าที่ (Authority)
(3) การวางแผน (Planning)
(4) การจัดรูปงาน (Organizing)
(5) การดำเนินงานเกี่ยวกับบุคลากร (Staffing)
(6) การอำนวยการ (Directing)
(7) การประสานงาน (Co-ordinating)
(8) การรายงาน (Reporting)
(9) การงบประมาณ (Budgeting)
หรือรวมเป็นภาษาอังกฤษโดยย่อว่า PAPOSDCORB
13. ระบบงานควบคุมอาชญากรรม เป็นระบบงานยุติธรรมที่ควบคุมอาชญากรรมอย่างเป็นทางการ และดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ คือ ตำรวจ อัยการ ศาล พนักงานคุมประพฤติ เจ้าหน้าที่เรือนจำ และพนักงานพักการลงโทษ ระบบงานดังกล่าวนี้ มุ่งต่อการลงโทษผู้ฝ่าฝืนกฎหมายอาญา ซึ่งมีการจัดรูปงานตามระบบราชการ แต่ละระบบงานดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขา และประสานงานโดยแบ่งเขตอำนาจและความ
รับผิดชอบของแต่ละระบบ ด้วยระเบียบข้อบังคับและกฎหมาย
14. ปรัชญาที่มุ่งต่อการลงโทษ มีที่มาจากปรัชญาของนักอาชญาวิทยาสำนักคลาสสิก ปรัชญาที่มุ่งต่อการลงโทษนี้ มุ่งต่อการยับยั้งและป้องกันอาชญากรรม โดยการลงโทษผู้กระทำความผิดให้เหมาะสมกับความผิดและการลงโทษจะต้องกระทำอย่างรวดเร็วและแน่นอน ตามปรัชญานี้จะไม่อนุญาตให้ศาลใช้ดุลยพินิจในการลงโทษ แต่ต้องลงโทษผู้กระทำความผิดตามโทษที่กฎหมายบัญญัติไว้
15. การแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดตามปรัชญาการบริหารงานยุติธรรมที่มุ่งต่อการแก้ไขฟื้นฟูมี 2 ประเภท คือ
(1) การแก้ไขเป็นรายบุคคล คือ การทำให้ผู้รับการแก้ไขยอมรับเอง เอาการควบคุมต่าง ๆ ของสังคมไปเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม หรือบุคลิกภาพของตนโดยสมัครใจ เพื่อจะไม่กระทำความผิดอีก วิธีแก้ไขเป็นรายบุคคลที่สำคัญ ได้แก่ วิธีการให้คำปรึกษาแนะนำทางจิต
(2) การแก้ไขเป็นรายกลุ่ม จากทรรศนะที่ว่าอาชญากรรมเป็นเรื่องที่เกิดจากอิทธิของกลุ่ม แยกออกได้เป็น 2 วิธีย่อย คือ การใช้กลุ่มเป็นเครื่องมือ และ การใช้กลุ่มเป็นเป้าหมายของการเปลี่ยนแปลง
16. การที่ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมนี้จะมีผลต่อการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดคือ ทำให้ผู้กระทำความผิดประพฤติปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีอย่างรวดเร็ว และมีความสัมพันธ์เป็นอย่างดีกับชุมชน และสมาชิกคนอื่นของชุมชน
17. สาเหตุอาชญากรรมต่าง ๆ สรุปได้ 3 ประการ คือ สภาวะหรือเงื่อนไขทางสังคม สภาวะหรือเงื่อนไขทางจิตใจ สภาวะสิ่งแวดล้อม
18. ตามแนวความคิดของผู้เชี่ยวชาญองค์การสหประชาชาติ การป้องกันอาชญากรรมตามสาเหตุต่าง ๆ อาจกระทำได้ 3 ระดับ คือ
(1) ระดับท้องถิ่น เช่น จังหวัด อำเภอ ตำบล หรือเทศบาล
(2) ระดับชาติ
(3) ระดับนานาชาติ
19. วิธีการป้องกันอาชญากรรมโดยมุ่งต่อบุคคล ส่วนใหญ่มีที่มากจาก 2 ทฤษฎี คือ ทฤษฏีการลงโทษเพื่อยับยั้ง และทฤษฎีแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิด
20. การป้องกันอาชญากรรมที่มุ่งต่อสิ่งแวดล้อมยังไม่ได้ผลดี เพราะการออกแบบผังเมืองเพื่อการป้องกันอาชญากรรมไม่อาจทำได้ในทุกท้องที่ ดังนั้นท้องที่ที่ไม่การออกแบบผังเมืองที่ดี หรือไม่มีกิจกรรมป้องกันอาชญากรรมที่ดี อาชญากรย่อมจะมีโอกาสประกอบอาชญากรรมได้ง่าย
22. นโยบายของรัฐเกี่ยวกับงานยุติธรรมเป็นสิ่งสำคัญในการบริหารงานยุติธรรมเพราะผู้ปฎิบัติจะต้องนำไปปฏิบัติให้ได้ผลตามนโยบายนั้น
23. ก่อนเกิดอาชญากรรม ตำรวจ เป็นระบบงานยุติธรรมที่มีบทบาทมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการป้องกันอาชญากรรม
24. หลังจากเกิดอาชญากรรม ระบบงานยุติธรรมทุกระบบ คือ ตำรวจ ทนายความ อัยการ ศาล คุมประพฤติ และราชทัณฑ์ ต่างมีบทบาทในการดำเนินการกับผู้กระทำความผิดในแต่ละขั้นตอนของตน
25. ระบบงานยุติธรรมทุกระบบมีกระบวนการสัมพันธ์และสืบเนื่องต่อกันคือตั้งแต่การจับกุมผู้กระทำความผิดไปจนถึงการปฎิบัติต่อผู้กระทำความผิดตามคำพิพากษาของศาล
26. ผู้เสียหายเป็นผู้เริ่มต้นกระบวนการยุติธรรมทางอาญาโดยการร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ แต่ค่อนข้างได้รับความสนใจน้อย จากระบบงานยุติธรรม
27. นโยบายของรัฐเกี่ยวกับงานยุติธรรม มีที่จาก
(1) รัฐธรรมนูญแห่งอาณาจักรไทย
(2) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(3) นโยบายของคณะรัฐมนตรี
(4) มติของคณะรัฐมนตรี
(5) แผนและนโยบายของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานยุติธรรม
28. บทบาทของตำรวจเน้นการป้องกันอาชญากรรม บทบาทของการรักษากฎหมาย มีหน้าที่โดยทั่วไป 4 ประการ คือ การรักษาความสงบเรียบร้อย การรักษากฎหมายเกี่ยวกับความผิดทางอาญา การบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ประชาชน การดูแลรักษาผลประโยชน์สาธารณะ
29. ตำรวจมีบทบาท 5 อย่างด้วยกันคือ เป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ เป็นผู้รักษากฎหมาย เป็นข้าราชการพลเรือน เป็นพนักงานฝ่ายปกครอง และเป็นตำรวจสนาม
30. หลังจากศาลประทับรับฟ้องคดีไว้แล้ว ศาลมีบทบาทดังนี้
(1) ศาลจะต้องวางตัวเป็นกลาง
(2) ศาลเป็นผู้ค้นหาข้อเท็จจริงง
(3) ศาลให้ความเป็นธรรมแก่คู่ความ
31. ตามทรรศนะของอลัน อาร์ คอฟฟี่ กล่าวไว้ว่า การบริหารงานยุติธรรมประกอบด้วย
(1) ปัจจัยเหตุ ได้แก่ อาชญากรรม
(2) กระบวนการ ได้แก่ การทำงานของตำรวจ ทนายความ อัยการ ศาล คุมประพฤติ และราชทัณฑ์
(3) ผลที่ได้รับ ได้แก่ การลดอาชญากรรม
32. ผู้เสียหายในคดีอาญาในประเทศไทยจะได้รับการชดใช้ค่าเสียหายจากผู้กระทำความผิด โดยผ่านกระบวนการฟ้องคดีเรียกเอาค่าเสียหายต่อศาล โดยจะฟ้องเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา หรือเป็นคดีแพ่งต่างหากก็ได้
33. การบริหารมีลักษณะที่สำคัญ 3 ประการคือ
(1) การบริหารงานจะต้องมีวัตถุประสงค์
(2) การบริหารงานจะต้องมีองค์ประกอบหรือปัจจัยต่าง ๆ
(3) การบริหารมีลักษณะเป็นการดำเนินงานที่เป็นกระบวนการสืบเนื่อง
34. ในสมัยรัชกาลที่ 5 ก่อนตั้งกระทรวงยุติธรรม ศาลยุติธรรมแบ่งออกเป็น 6 ศาล คือ ศาลนครบาล ศาลมหาดไทย ศาลกระทรวง ศาลกลาโหม ศาลกรมท่า ศาลแพ่งกลาง และศาลแพ่งเกษม
.
-------------------------------------------
.
หน่วยที่ 3
ระบบงานตำรวจ และการบริหารงานบุคคลของตำรวจ
----------------------------------------------------------------------------
1. ตำรวจมีความเป็นมาควบคู่กับวิวัฒนาการของสังคม ทำหน้าที่รักษากฎเกณฑ์ของสังคม
2. ตำรวจเป็นหน่วยงานเบื้องต้นของกระบวนการยุติธรรม ภารกิจพื้นฐาน คือ การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม
3. องค์กรตำรวจมีการจัดองค์การและการบริหารงานบุคคลคล้ายทหาร
4. ตำรวจเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องได้รับความเคารพเชื่อถือศรัทธาจากประชาชนอย่างแท้จริง จึงจะได้ชื่อว่าเป็นตำรวจของประชาชน
5. วิวัฒนาการของตำรวจไทยยมีมาช้านานควบคู่กับการทหาร และต่อมาจึงได้นำหลักการตำรวจในประเทศตะวันตกมาประยุกต์ใช้
6. หน้าที่และความรับผิดชอบของตำรวจมีขอบเขตอย่างกว้างขวางจึงทำให้ตำรวจต้องมีบทบาทหลายฐานะ อาทิ ผู้รักษากฎหมาย ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ ตำรวจสนาม
7. การใช้ดุลยพินิจของตำรวจเป็นสิ่งสำคัญที่มีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพสำหรับบุคคลได้จึงต้องมีความรอบคอบและกำหนดแนวทางการใช้ดุลยพินิจที่รัดกุมไว้
8. ตำรวจ หมายถึง เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือผู้พิทักษ์สันติราษฎร์นั่นเอง
9. หลัการสำหรับวิชาชีพตำรวจของ เซอร์ โรเบิร์ต พีล แห่งอังกฤษ มี 9 ประการ
(1) การป้องกันอาชญากรรมเป็นภารกิจพื้นฐานของตำรวจ
(2) ตำรวจต้องได้รับความเคารพเชื่อถืออย่างแท้จริงจากประชาชน
(3) การที่ประชาชนเคารพปฏิบัติตามกฎหมายเท่ากับเป็นการสร้างความเคารพศรัทธาของประชาชนที่มีต่อตำรวจ
(4) ความร่วมมือสนับสนุนของประชาชนจะลดน้อยถอยลงเมื่อความรุนแรงของตำรวจในการปฏิบัติหน้าที่เพิ่มขขึ้น
(5) ตำรวจต้องปฎิบัติหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายด้วยความยุติธรรม
(6) ตำรวจควรใช้กำลังในกรณีจำเป็นที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
(7) ตำรวจก็คือประชาชน และประชาชนก็คือตำรวจ
(8) ตำรวจเป็นตัวแทนของกฎหมาย
(9) ความปลอดจากอาชญากรรมและความยุ่งเหยิงเป็นการทดสอบถึงประสิทธิภาพของตำรวจ
10. เอรีคก้า แฟร์ไชลค์ ได้กล่าวถึงปรัชญาตำรวจในสังคมประชาธิปไตยว่า ตำรวจจะต้องให้หลักประกันในเรื่องสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล (guarantees of individual rights) ได้รับความคุ้มครองอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกันภายใต้กำหมายเดียวกัน (equal protection underlaw) ซึ่งตำรวจจะต้องสนองตอบความต้องการของประชาชนและพร้อมที่จะถูกตรวจสอบการทำงานโดยประชาชนอีกด้วย
11. สาระสำคัญที่อาจกล่าวได้ว่าเป็นพื้นฐานของกิจการตำรวจไทยมีดังนี้
(1) ความใกล้ชิดกับทหารเนื่องจากมีวิวัฒนาการควบคู่กันมา ผู้บังคับบัญชาตำรวจระดับสูงในระยะแรกของการปฏิรูปตำรวจส่วนใหญ่โอนมาจากทหาร แม้กระทั่งปี พ.ศ. 2475 ในสมัยประชาธิปไตย ยังคงมีผู้บังคับบัญชาระดับสูงของงตำรวจโอนมาจากทหาร
(2) รูปแบบของตำรวจประเทศตะวันตกเป็นรากฐานมาจนกระทั่งทุกวันนี้ในด้านต่าง ๆ เช่น ยศ ตำแหน่ง เครื่องแบบ การจัดหน่วยงาน การฝึกอบรม เป็นต้น
(3) แนวความคิดการบริหารงานตำรวจของประเทศสหรัฐอเมริกาเริ่มมีอิทธิพบต่อนักบริหารงานตำรวจไทย เมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สืบเนื่องจากสหรัฐอเมริกา ได้ทุ่มเทความช่วยเหลือแก่ประเทศไทยในด้านต่าง ๆ รวมทั้งด้านตำรวจด้วย โดยได้ให้ทุนแก่นายตำรวจไทยไปศึกษาวิชาการตำรวจที่สหรัฐอเมริกา รวมทั้งส่งที่ปรึกษามาแนะนำให้ความช่วยเหลือกรมตำรวจ
12. หน้าที่โดยทั่วไปของตำรวจ ได้แก่
(1) รักษาความสงบเรียบร้อยทั้งภายในและภายนอกเพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชน
(2) รักษากฎหมายที่เกี่ยวแก่การกระทำความผิดในทางอาญา
(3) บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ประชาชน
(4) ดูแลรักษาผลประโยชน์สาธารณะ
13. บทบาทหลายฐานะของตำรวจไทย ได้แก่
(1) ฐานะผู้พิทักษ์สันติราษฎร์
(2) ฐานะผู้รักษากฎหมาย
(3) ฐานะข้าราชการกึ่งพลเรือน
(4) ฐานะพนักงานฝ่ายปกครอง
(5) ฐานะตำรวจสนาม
14. สาเหตุและความจำเป็นที่ตำรวจต้องใช้ดุลยพินิจ
(1) ตำรวจมีหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย จำเป็นต้องใช้ดุลพินิจอย่างรอบคอบก่อนที่จะตัดสินใจปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายในเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง
(2) กฎหมายในสังคมมีมากมายหลายฉบับ ในทางปฏิบัติยากที่จะสามารถบังคับใช้ทุกฉบับอย่างสม่ำเสมอทัดเทียมกันได้ จึงเป็นเรื่องที่ตำรวจจะต้องใช้ดุลยพินิจในการเลือกใช้กฎหมายให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงของสังคม
(3) ตำรวจมีหน้าที่บริการทั่วไปแก่ประชาชน โดยเฉพาะการระงับหรือไกล่เกลี่ยข้อพิพาทซึ่งเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในชีวิตประจำวันของตำรวจ จึงต้องใช้ดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหาเหล่านั้น
(4) เนื่องจากลักษณะอาชีพตำรวจมีความเสี่ยงภัยอันตรายในการปฏิบัติหน้าที่ และมักจะกระทบกระทั่งกับอิทธิพลต่าง ๆ จึงต้องใช้ดุลยพินิจอยู่ตลอดเวลาในการปฏิบัติงานประจำวัน
15. การจัดองค์การของตำรวจต้องคำนึงถึงหน้าที่และความรับผิดชอบของตำรวจ หลักการจัดองค์การ หลักการบริหารราชการแผ่นดิน หลักการดำเนินคดี และบางกรณีอาจรวมถึงหลักการป้องกันประเทศ
16. การบริหารงานบุคคลของตำรวจยึดถือระบบการจำแนกตำแหน่งตามชั้นยศ
17. ปัจจัยในการจัดองค์การตำรวจ ได้แก่
(1) หน้าที่และความรับผิดชอบของตำรวจ
(2) หลักการจัดองค์การ
(3) หลักการบริหารราชการแผ่นดิน
(4) หลักการดำเนินคดี
(5) หลักการป้องกันประเทศ
18. การบริหารงานบุคคลของตำรวจยึดถือระบบการจำแหนกตำแหน่งตามชั้น ยส หมายความว่า เป็นการจำแนกตำแหน่ง หน้าที่ และบุคคลให้เป็นหมวด หมู่ ตามลำดับชั้น เพื่อสะดวกในการบรรจุแต่งตั้ง กำหนดอัตราเงินเดือน เลื่อนชั้น เลื่อนตำแหน่ง ซึ่งแตกต่างกับข้าราชการพลเรือน ซึ่งถือระบบการจำแนก ตำแหน่งตามหน้าที่ความรับผิดชอบเป็นระบบที่ถือหลักหน้าที่ คุณภาพ ปริมาณงานและความรับผิดชอบเป็นเกณฑ์การกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือน
.
----------------------
.
หน่วยที่ 4
บทบาทของตำรวจ และความสัมพันธ์กับชุมชน
------------------------------------------------------------------
1. มาตรการที่สำคัญของตำรวจในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม ได้แก่ การป้องกันอาชญากรรม การตรวจท้องที่ การสืบสวนสอบสวน การควบคุมแหล่งอบายมุข
2. ตำรวจชุมชนสัมพันธ์เป็นหลักสำคัญในการที่จะเสริมสร้างความสัมพันธ์ และความร่วมมือระหว่างตำรวจกับประชาชนในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรม การตำรวจชุมชนเป็นปรัชญาในการทำงานซึ่งเปิดโอกาสให้ตำรวจกับชุมชนทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดมีฐานะเป็น "พันธมิตรในเชิงหุ้นส่วน" ต่อกัน
3. การตรวจท้องที่เป็นยุทธวิธีตำรวจในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม
4. การป้องกันอาชญากรรมเป็นหลักการพื้นฐานสำคัญของตำรวจในการเสาะแสวงหาข้อเท็จจริงต่าง ๆ เกี่ยวกับอาชญากรรม เพื่อผลในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม
5. อบายมุขเป็นสิ่งชั่วร้ายที่สร้างความเสื่อมเสียแก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง และสังคมไทยส่วนรวม จึงต้องมีการควบคุมให้อยู่ในวงจำกัด
6. ความผิดทางเศรษฐกิจสร้างความสูญเสียแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องและสังคมไทยส่วนรวม
7. นอกจากจะมีหน้าที่ในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมแล้ว ตำรวจยังมีบทบาทหน้าที่ในการรักษาความมั่นคงของชาติ
8. แนวคิดในการจัดสายตรวจแบบดั้งเดิม เพื่อวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ
(1) การระงับเหตุร้ายซึ่งหน้าได้ทันท่วงที
(2) การยับยั้งการกระทำผิดของคนร้าย
(3) การไปถึงที่เกิดเหตุอย่างรวดเร็ว
9. การพัฒนางานการตรวจท้องที่มี 3 แนวทางคือ
(1) การให้บริการรับแจ้งเหตุตามหลักเกณฑ์การจัดลำดับความเร่งด่วน
(2) การตรวจท้องที่เชิงยุทธวิธี โดยอาศัยผลวิเคราะห์อาชญากรรมและข้อมูลข่าวกรองอาชญญากรรม
(3) การแก้ไขปัญหาเชิงกลยุทธ์ เพื่อขจัดปัจจัยต่าง ๆ ที่เป็นสาเหตุของอาชญากรรม
10. การจัดการและการสนับสนุนงานการตรวจท้องที่ แยกดำเนินการได้ 3 ส่วน คือ
(1) การจัดสรรทรัพยากรทางงการบริหารให้กับการตรวจท้องที่ตามปริมาณงานการรับแจ้งเหตุในแต่ละช่วงเวลาของแต่ละวันในสัปดาห์
(2) การวางระบบศูนย์ควบคุมสั่งการ
(3) การสนับสนุนข้อมูลให้กับสายตรวจ ซึ่งประกอบด้วย การวิเคราะห์การปฏิบัติงาน การวิเคราะห์อาชญากรรม การวิเคราะห์การจราจร และการวิเคราะห์สถานภาพเขตการตรวจ
11. ทฤษฏีการป้องกันอาชญากรรมสามารถจำแนกออกเป็น 2 ทฤษฎี คือ ทฤษฎีการลดช่องโอกาสในการกระทำผิด และทฤษฎีการควบคุมทางสังคมแบบไม่เป็นทางการ
12. ยุทธศาสตร์การป้องกันอาชญากรรมที่ผู้บริหารระดับสถานีตำรวจ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ได้ตามความเหมาะสม มี 6 ประการ
ดังนี้
(1) การรณรงค์เสริมสร้างความร่วมมือของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรม ประกอบด้วยการหลีกเลี่ยงสถานการณ์เสี่ยงภัยอาชญากรรม การต่อสู้ขัดขวางและการป้องกันตนเอง และการให้บริการเหยื่ออาชญากรรม
(2) การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในกการป้องกันอาชญากรรมมี 5 รูปแบบ ได้แก่ การจัดตั้งกลุ่มสมาชิกเตือนภัยและแจ้งข่าวอาชญากรรม โครงการสายตรวจประชาชน การเสริมสร้าง "พันธมิตรในเชิงหุ้นส่วน" กับองค์กรชุมชน คณะกรรมการประชาชน และการตำรวจชุมชน
(3) การควบคุมอาชญากรรมจากสภาพแวดล้อม เช่น การสร้างสิ่งกีดขวางให้มั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันอาชญากรรม การวางผังเมืองและการออกแบบทางสถาปัตยกรรม การติดตั้งไฟฟ้าให้แสงสว่าง การจัดสภาพเส้นทางประตูเข้าออกหมู่บ้านหรือชุมชน และการติดตั้งโทรทัศน์วงจรปิดและสัญญาณเตือนภัย เป็นต้น
(4) การประชาสัมพันธ์และให้ความรู้แก่ประชาชน เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่อต้านภัยอาชญากรรม โดยใช้สื่อ
มวลชนรณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาชน เช่น โครงการสุนัขเฝ้าบ้านชื่อ "McGruff" และการให้รางวัลสินบนนำจับแก่ผู้แจ้งเบาะแสตามโครงการแจ้งข่าวอาชญากรรม "Crime stoppers programs"
(5) การป้องกันอาชญากรรมในสถานศึกษา โดยการให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย หลักสูตรการป้องกันอาชญากรรมและความมั่นคงปลอดภัย และหลักสูตรการป้องกันการใช้สารเสพติดและสุรา
(6) การป้องกันอาชญากรรมในชุมชนธุรกิจ โดยการจัดตั้ง "กลุ่มชุมชนธุรกิจเตือนภัย" เพื่อให้สมาชิกร่วมมือกันสอดส่องพฤติการณ์ความเคลื่อนไหวที่ผิดปกติต่าง ๆ และแจ้งเหตุให้ตำรวจทราบและการสร้าง "พันธมิตรในเชิงหุ้นส่วน" ระหว่างชุมชนธุรกิจกับตำรวจและหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมอื่น ๆ
13. กระบวนการสืบสวนสอบสวนโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน คือ
(1) การสืบสวนสอบสวนเบื้องต้น การรวบรวมพยานหลักฐานต่าง ๆ ในเบื้องต้น ภายหลังการได้รับแจ้งเหตุคดีอาชญากรรมหรือบริเวณที่เกิดเหตุ
(2) การส่งมอบคดีให้พนักงานสืบสวนสอบสวนดำเนินการ เป็นการกลั่นกรองหลักฐานทางคดีนเบื้องต้นเพื่อพิจารณาว่ามีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะทราบตัวผู้กระทำผิด ติดตามทรัพย์หายคืนมา หรือจับกุมคนร้ายมาดำเนินคดีหรือไม่ หากไม่มีพยานหลักฐานเพียงพอ ก็ให้งดการสืบสวนสอบสวน
(3) การสืบสวนสอบสวนต่อเนื่อง เป็นการดำเนินการต่อจากการสืบสวนสอบสวนเบื้องต้น โดยทำการรวบรวมพยานหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิด เพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีต่อไป
(4) การสรุปสำนวนการสอบสวนเพร้มความเห็นทางคดี เมื่อการสืบสวนสอบสวนเสร็จสิ้นแล้ว พร้อมเสนอความเห็นควรสั่งฟ้อง สั่งไม่ฟ้อง หรืองดการสอบสวน
(5) การดำเนินการชั้นศาล อาจมีสืบสวนสอบสวนเพิ่มเติม ภายหลังการส่งสำนวนมายังพนักงานอัยการ ซึ่งพนักงานสอบสวนจะต้องประสานงานกับพนักงานอัยการและศาลอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะกรณีที่จะต้องติดตามพยาน ผู้เสียหาย หรือผู้จับกุมมาเบิกความต่อศาล
14. ภารกิจหน้าที่พื้นฐานของตำรวจในการบังคับใช้กฎหมาย โดยเฉพาะการควบคุมการจราจร มี 3 ประการ คือ
(1) สืบสวนสอบสวนคดีความผิดอุบัติเหตุการจราจร
(2) กำกับดูแลการจราจร
(3) การบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการจราจร
15. ลักษณะสำคัญของการกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับอบายมุขมีดังนี้
(1) เป็นอาชญากรรมที่ไม่มีผู้เสียหาย
(2) เป็นอาชญากรรมที่สามารถทำกำไรสูงในระยะอันสั้น
(3) มักใช้เงินในการสร้างอิทธิพลคุ้มกัน
(4) มักมีการดำเนินการในรูปองค์การอาชญากรรม และประชาชนบางกลุ่มมองไม่เห็นถึงความชั่วร้าย ละเลย ไม่ให้ความสนใจ หรืออาจไม่เห็นด้วยกับการปราบปรามของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
16. อาชญากรที่กระทำผิดในทางเศรษฐกิจมักจะหลุดรอดจากการถูกดำเนินคดีอยู่บ่อยด้วยเหตุ
(1) ประชาชนทั่วไปไม่ค่อยรู้และทราบถึง ตลอดจนไม่ให้ความสนใจต่ออาชญากรรมประเภทนี้
(2) มักมีกฎหมายพิเศษกำหนดความผิดและโทษแยกจากความผิดอาญาทั่วไป
(3) ผู้กระทำความผิดเป็นบุคคลที่มีฐานะทางสังคมสูง มีความรู้และการเงิน สามารถต่อสู้ในทางคดีได้เป็นอย่างดี
17. บทบาทของตำรวจในการรักษาความมั่นคงของชาติ มี
(1) การป้องกันรักษาอธิปไตยของชาติ
(2) การป้องกันปราบปรามการก่อจราจล
(3) การป้องกันปราบปรามการก่อวินาศกรรม
(4) การควบคุมบุคลต่างด้าวและผู้อพยพลี้ภัย
18. ภาพลักษณ์ของตำรวจ เกิดจากท่าทีหรือทัศนคติของประชาชนที่มีต่อตำรวจโดยส่วนรวม
19. ความสัมพันธ์อันดีระหว่างตำรวจกับประชาชนเป็นกุญแจสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม
20. ตำรวจชุมชนสัมพันธ์เป็นหลักการที่สำคัญในการที่จะเสริมสร้างความสัมพันธ์ และความร่วมมือระหว่างตำรวจกับประชาชนในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรม
21. การตำรวจชุมชนเป็นทั้งปรัชญา (วิธีการในการคิด) และยุทธศาสตร์ขององค์การ (วิธีการนำปรัชญาไปสู่การปฏิบัติ) ซึ่งเปิดโอกาสให้ตำรวจกับชุมชนทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดมีฐานะเป็น "พันธมิตรในเชิงหุ้นส่วน" (partnership) ต่อกัน
22. การตำรวจชุมชนกระจายบริการงานตำรวจลงสู่ระดับชุมชน และเข้าถึงประชาชนเป็นรายบุคคลอย่างใกล้ชิด โดยใช้มาตรการแก้ไขปัญหาเชิงรุกทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
23. การเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของตำรวจ อาศัยหลักการดังนี้
(1) หลักประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่
(2) หลักจริยธรรมตำรวจ คือ ตำรวจต้องมีคุณธรรมในการปฏิบัติหน้าที่
(3) รักษาไว้ซึ่งเกียรติและศักดิ์ศรีของผู้พิทักษ์สันติราษฎร์
(4) มีความกรุณาเห็นอกเห็นใจประชาชน
(5) ตำรวจทุกคนร่วมมือร่วมใจกัน มีความสามัคคีในการปฏิบัติงาน
24. หากความสัมพันธ์ระหว่างตำรวจกับประชาชนไม่ดีแล้วมีผลเสีย คือ
(1) ทำให้อาชีพตำรวจเป็นที่จงเกลียดจงชัง ไม่ได้รับความเคารพนับถือในอาชีพตำรวจเท่าที่ควร
(2) ผลกระทบต่อการปฏิบัติงาน ตำรวจจะไม่ได้รับความร่วมมือ เช่น การเป็นพยานในคดี
(3) เจ้าหน้าที่ตำรวจอาจถูกทำร้ายหรือต่อสู้ขัดขวางได้
(4) กระทบต่อความสงบสุขของชุมชน
25. กลวิธีในการดำเนินงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์มีองค์ประกอบ ดังนี้
(1) ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในชุมชนได้ทราบถึงการดำเนินงานต่างๆ ของตำรวจเพื่อสร้างความเข้าใจ ความมั่นใจ และการสนับสนุนงานตำรวจโดยทั่วไป
(2) การบริการชุมชนทั้งที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมและบริการอื่น ๆ เป็นการแสดงถึงความตั้งใจจริง และทำงานจริงจังดังที่ได้ประชาสัมพันธ์ไว้
(3) การชักนำประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจการตำรวจเพื่อร่วมมือกันในนการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่ตำรวจและชุมชนประสบอยู่
26. ปรัชญาการตำรวจชุมชนเป็นปรัชญาในการทำงานแนวใหม่บนพื้นฐานของความเชื่อที่ว่า การที่ตำรวจกับชุมชนสร้าง "พันธมิตรในเชิงหุ้นส่วน" ในการทำงานร่วมกัน ด้วยความไว้วางใจต่อกัน โดยใช้ความริเริ่มสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ย่อมสามารถแก้ไขปัญหาอาชญากรรมต่าง ๆ ความรู้สึกหวาดกลัวภัยอาชญากรรมและสภาพความไร้ระเบียบและความเสื่อมโทรมทางสังคมและทางกายภาพในชุมชนต่าง ๆ
27. หลักการตำรวจชุมชน มี 10 ประการ คือ
(1) การตำรวจชุมชนเป็นปรัชญา (วิธีการในการคิด) และยุทธศาสตร์ขององค์กร (วิธีการนำปรัชญาไปสู่การปฏิบัติ)
(2) การให้อำนาจกับชุมชน
(3) การตำรวจชุมชนกระจายบริการลงสู่ระดับชุมชนและถึงประชาชนเป็นรายบุคคล
(4) การแก้ไขปัญหาเชิงรุกทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
(5) จรรณยาบรรณ นิติธรรม ความรับผิดชอบ และความไว้วางใจ
(6) ขยายขอบเขตอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบของตำรวจให้กว้างขวางขึ้น
(7) ให้ความช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายพิเศษ
(8) ความริเริ่มสร้างสรรค์และแรงสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน
(9) การเปลี่ยนแปลงภายในหน่วยงานตำรวจ
(10) การวางรากฐานเพื่ออนาคต
.
---------------------------------------
."""""".
หน่วยที่ 5
ระบบงานทนายความและบทบาทของทนายความ
-------------------------------------------------------------------------
1. ทนายความยุคดั้งเดิมของไทยไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการยุติธรรม เนื่องจากทนายความไม่ใช่ผู้รู้กฎหมาย และไม่จำเป็นต้องรู้กฎหมาย เพราะมีหน้าที่หลักคือให้ความสะดวกแก่ตัวความ โดยไปให้การต่อศาลแทนตัวความในกรณีที่ตัวความไปศาลเองไม่ได้ หรือไม่จำเป็นต้องไปศาล แต่ทนายความยุคใหม่หรือยุคปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการยุติธรรม เพราะทนายความต้องเป็นผู้รู้กฎหมาย และมีหน้าที่คุ้มครองผลประโยชน์ที่ชอบด้วยกฎหมายของประชาชน
2. ทนายความได้รับการยอมรับว่าเป็นสถาบันหนึ่งในกระบวนการยุติธรรม เพราะทนายความมีหน้าที่คุ้มครองผลประโยชน์ที่ชอบด้วยกฎหมายของประชาชน ทั้งประชาชนที่เป็นลูกความ ประชาชนที่เป็นคู่กรณี และประชาชนโดยทั่วไป
3. การควบคุมทนายความมีความสัมพันธ์กับการส่งเสริมวิชาชีพทนายความ เพราะจุดมุ่งหมายของการควบคุมก็เพื่อให้ทนายความมีมาตรฐานการประกอบวิชาชีพทนายความอยู่ในระดับที่สามารถคุ้มครองผลประโยชน์ของประชาชนได้ ซึ่งย่อมส่งเสริมให้ผู้ประกอบการวิชาชีพทนายความได้รับความเชื่อถือไว้วางใจจากประชาชน ทนายความก็จะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีเกียรติมีศักดิ์ศรีและมีฐานะทางเศรษฐกิจที่มั่นคง
4. บทบาทของทนายความในกระบวนการยุติธรรม หมายถึงบทบาทของทนายความยุคใหม่หรือยุคปัจจุบัน ซึ่งจะต้องแสดงออกด้วยการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย และระเบียบหรือกฎข้อบังคับที่ออกภายใต้บังคับของกฎหมายซึ่งเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของทนายความ
5. เดิมทนายความของไทยเกิดจากแนวคิดของฝ่ายปกครองในการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนผู้มีอรรถคดี แต่ปัจจุบันแนวคิดนั้ได้คลี่คลายมาสู่ขอบเขตของการอำนวยความยุติธรรมและความสะดวกแก่ประชาชนพร้อมกันไปด้วย ทนายความยุคใหม่หรือทนายความยุคปัจจุบันจึงแตกต่างจากทนายความยุคเก่า เนื่องจากทนายความยุคใหม่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการยุติธรรม แต่ไม่ถือว่าทนายความยุคเก่าเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการยุติธรรม
6. ประชาชนโดยส่วนรวมหรือสังคมยอมรับให้มีทนายความ เพราะเห็นว่ามีประโยชน์และความไม่รู้ ไม่เข้าใจหรือไม่สะดวกแก่ประชาชนผู้มีอรรถคดี หรือมีกิจกรรมที่ต้องใช้กฎหมายเป็นหลัก หรือเห็นว่าจะไม่ได้รับความเป็นธรรมในเรื่องใด ก็จำเป็นต้องพึ่งทนายความ ทนายความจึงเป็นสถาบันที่มีลักษณะเป็นที่พึ่งใกล้ชิดที่สุดของประชาชน เพราะมีฐานะเป็นประชาชนด้วยกัน และมีหน้าที่คุ้มครองผลประโยชน์ที่ชอบด้วยกฎหมายของประชาชน
7. ทนายความยุคใหม่หรือยุคปัจจุบันมีหน้าที่คุ้มครองผลประโยชน์ของประชาชน ทั้งนี้เนื่องจากทนายความยุคใหม่เป็นผู้รู้กฎหมาย จึงต้องรู้ว่าผลประโยชน์ของตัวความที่ตนรับจะคุ้มครองให้นั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ทนายความยุคใหม่มีหน้าที่คุ้มครองผลประโยชน์ที่ชอบด้วยกฎหมายของตัวความโดยเสนอพยานหลักฐานที่ถูกต้องให้ศาลพิจารณา เพราะหน้าที่ในการอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนในยุคปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ครั้งใหญ่ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่ช่วต้นรัฐกาลที่ 5 เป็นต้นมานั้น ไม่ใช่หน้าที่ของฝ่ายปกครองและศาลเท่านั้น หากเป็นหน้าที่ของทนายความด้วย
8. หน้าที่ของสถาบันทนายความ คือ คุ้มครองผลประโยชน์ของประชาชน ซึ่งมีสถานะต่าง ๆ กัน มีทั้งประชาชนที่เป็นลูกความ ประชาชนที่เป็นคู่กรณี เพราะทนายความต้องวางตนเป็นกลาง โดยทำหน้าที่ทนายความภายในกรอบมรรยาทของทนายความ เช่น เสนอพยานหลักฐานที่มีอยู่จริงและถูกต้องให้ศาลพิจารณา เป็นต้น
9. ที่กล่าวว่าดูลักษณะสถาบันทนายความได้จากหน้าที่ของทนายความ เพราะสถาบันเป็นนามธรรม สถาบันทนายความก็เป็นนามธรรมเช่นกัน เนื่องจากเป็นเรื่องของการยอมรับของประชาชนโดยส่วนรวมหรือสังคมให้มีขึ้น ด้วยเห็นว่ามีประโยชน์และจำเป็นแก่การดำเนินชีวิต ด้วยเหตุที่สถาบันต่าง ๆ แตกต่างกันที่หน้าที่ เพราะแต่ละสถาบันต่างมีหน้าที่โดยเฉพาะของตน ซึ่งย่อมมีลักษณะต่างจากสถาบันอื่น ด้วยเหตุนี้ การดูหน้าที่ของทนายความและสภาทนายความจึงทำให้ทราบลักษณะของสถาบันทนายความ
10. การควบคุมผู้ประกอบวิชาชีพทนายความไม่ใช่การควบคุมในลักษณะบังคับบัญชา แต่เป็นการควบคุมในลักษณะกำกับดูแล เพื่อให้ทนายความกระทำการในกรอบของกฎหมายและข้อบังคับที่ออกำยใต้บังคับของกฎหมาย เพราะวิชาชีพทนายความเป็นวิชาชีพอิสระ ผู้ประกอบวิชาชีพนี้จึงไม่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของผู้ใด ทนายความจึงมีอำนาจตัดสินใจหรือวินิจฉัยสั่งการเองภายในกรอบของกฎหมายและข้อบังคับนั้น องค์กรควบคุมทนายความจึงมีลักษณะเป็นองค์กรกำกับดูแล ซึ่งต้องดำเนินการควบคุมตามที่มีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้เท่านั้น
11. ทนายความย่อมประกอบวิชาชีพทนายความภายในกรอบของคุณธรรมและจริยธรรมของทนายความซึ่งส่วนใหญ่เป็นคุณธรรมและจริยธรรมทางศาสนา
12. มรรยาททนายความเป็นจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพทนายความ มีฐานะเป็นข้อบังคับที่ออกภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติทนายความ มีวัตถุประสงค์ให้ทนายความประกอบวิชาชีพทนายความเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของประชาชน ทนายความด้วยกัน และให้ทนายความสามารถดำรงชีพได้อย่างดีมีเกียรติและศักดิ์ศรีในสังคมโดยมีหลักคุณธรรมและจริยธรรมของทนายความเป็นพื้นฐาน
13. ทนายความเป็นผู้มีหน้าที่ในการอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชน ไม่ใช่นักธุรกิจ เพราะทนายความมีหน้าที่คุ้มครองผลประโยชน์ของประชาชน ทั้งประชาชนที่เป็นลูกความ ประชาชนที่เป็นคู่กรณี และประชาชนทั่วไป ด้วยการว่าความในศาล การเป็นที่ปรึกษากฎหมายและการเป็นผู้แทนทำนิติกรรมที่ใช้กฎหมายเป็นหลัก ซึ่งปัจจุบันนี้ทนายความได้ปกครองตนเองแล้ว หน้าที่ของทนายความในการอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชน ทนายความจึงกระทำได้เมื่อลูกความมอบหมาย หรือเมื่อสภาทนายความมอบหมาย สำหรับกรณีที่สภาทนายความมอบหมายนั้น ถือว่าเป็นบทบาทในด้านส่งเสริมความเป็นธรรมในสังคม
14. องค์กรควบคุมผู้ประกอบวิชาชีพทนายความในอดีตอยู่ภายใต้อิทธิพลโดยทางอ้อมและโดยตรงของเนติบัณฑิตยสภา แต่องค์กรควบคุมผู้ประกอบวิชาชีพทนายความในปัจจุบันมีลักษณะเป็นการปกครองตนเองของทนายความ เพราะคณะกรรมการสภาทนายความส่วนใหญ่มาจากการเลือกตั้งของทนายความเอง มีที่มาโดยตำแหน่งเพียง 2 คนเท่านั้น
15. คณะกรรมการมรรยาททนายความเป็นองค์กรผู้รับผิดชอบเฉพาะเรื่อง เพราะมีอำนาจหน้าที่ควบคุมมรรยาททนายความโดยเฉพาะไม่ได้มีหน้าที่อื่น ๆ ดังเช่นคณะกรรมการสภาพทนายความ ซึ่งเป็นองค์กรผู้รับผิดชอบทั่วไป
16. รายได้จากค่าจ้างว่าความเป็นเพียงปัจจัยสำคัญประการหนึ่งของการดำรงชีพของทนายความ แม้ทนายความมีความเป็นอิสระในการเรียกค่าจ้างว่าความ แต่พึงตระหนักว่าฐานะของประชาชนที่จะมาเป็นลูกความของตนนั้นย่อมแตกต่างกัน คนรายได้น้อยที่ต้องพึ่งบริการของทนายความก็มีไม่น้อย หากทนายความเรียกค่าจ้างว่าความสูงเกินควรลูกความก็จะเดือดร้อนได้ เช่น ต้องไปกู้เงินเสียดอกเบี้ยแพงมาเป็นค่าจ้างว่าความ เป็นต้น ดังนั้นก่อนเรียกค่าจ้างว่าความ ทนายความจึงต้องรู้ฐานะที่แท้จริงของเขาและปรับค่าจ้างว่าความให้สมดุลกับฐานะนั้น แล้วจึงเรียกค่าจ้างว่าความ ลูกความก็จะไม่ได้รับความเดือดร้อน
17. มรรยาททนายความเป็นจรรยาบรรณของผู้ประกอบการวิชาชีพทนายความ มีฐานะเป็นข้อบังคับที่ออกภายใต้บังคับของกฎหมาย คือ พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 ซึ่งกำหนดโทษสำหรับทนายความที่ประพฤติผิดมรรยาททนายความไว้ด้วย ส่วนคุณธรรมและจริยธรรมของทนายความนั้นเป็นความรู้สึกนึกคิดและการแสดงออกหรือความประพฤติในทางที่ถูกที่ควรของทนายความ คุณธรรมและจริยธรรมไม่ใช่กฎหมายหรือข้อบังคับที่ออกภายใต้บังคับของกฎหมาย ดังนั้น จึงไม่มีโทษสำหรับทนายความที่ไม่ปฏิบัติตามหลักคุณธรรมและจริยธรรม อย่างไรก็ดีมรรยาททนายความย่อมมีหลักคุณธรรมและจริยธรรมของทนายความเป็นพื้นฐาน
18. ทนายความมีหน้าที่อำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชน ด้วยการกระทำหน้าที่ 3 ประการ คือ การว่าความในศาล การเป็นที่ปรึกษากฎหมาย และการเป็นผู้แทนทำกิจกรรมที่ใช้กฎหมายเป็นหลัก โดยทนายความต้องวางตนเป็นกลาง ด้วยการคุ้มครองผลผระโยชน์ในทางที่ชอบด้วยกฎหมายของประชาชน ซึ่งปัจจุบันนี้ ทนายความสามารถกระทำตามหน้าที่นั้นได้ใน 2 ลักษณะด้วยกัน คือ กระทำหน้าที่เมื่อลูกความมอบหมาย และกระทำหน้าที่เมื่อสภาพทนายความมอบหมาย ซึ่งมีลักษณะเป็นการส่งเสริมความเป็นธรรมในสังคมนั่นเอง
19. ในการดำเนินคดีอาญา ทนายความมีบทบาทโดยทำตามหน้าที่ของทนายความตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในส่วนที่จำเป็นต้องนำมาใช้ กฎหมายอื่น ๆ และข้อบังคับที่ออกภายใต้บังคับของกฎหมายนั้นในส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ
20. ในการดำเนินคดีแพ่ง ทนายความควรมีบทบาทเป็นผู้ไกล่เกลี่ยให้คู่กรณีตกลงประนีประนอมยอมความกันก่อนนำคดีขึ้นสู่ศาล การนำคดีขึ้นสู่ศาลนั้นควรกระทำต่อเมื่อไม่มีหนทางที่คู่กรณีจะตกลงยอมความกันได้จริง ๆ และเมื่อนำคดีขึ้นสู่ศาลแล้วก็ควรสนับสนุนให้คู่ความได้ตกลงประนีประนอมยอมความกันในศาลด้วย หากทนายความมีบทบาทเช่นนี้ย่อมเป็นทาหนึ่งที่จะทำให้คดีขึ้นศาลลดลง และทำให้คดีเสร็จไปจากศาลเร็วขึ้น คดีที่ต้องพิจารณาในศาลจะลดลง ประชาชนที่เป็นคู่กรณีหรือคู่ความจะได้ประโยชน์จากกระบวนการยุติธรรมมากขึ้น เพราะศาลมีประสิทธิภาพในการอำนวยความยุติธรรมสูงขึ้น ในขณะเดียวกันคู่กรณีหรือคู่ความจะเสียเวลาและ
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีน้อยลง
21. คดีประเภทอื่นนอกจากคดีอาญาและคดีแพ่ง กฎหมายกำหนดให้มีองค์กรอื่นเป็นผู้คุ้มครองผลประโยชน์ของคู่กรณี จึงทำให้ดูเหมือนว่าทนายความมีบทบาทน้อยหรือไม่มีเลย เช่น คดีล้มละลาย กฎหมายกำหนดให้มีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ คดีเยาวชนและครอบครัวและคดีแรงงาน กฎหมายกำหนดให้มีผู้พิพากษาสมทบ คดีภาษีอากร กฎหมายกำหนดให้ศาลภาษีอากรเป็นศาลชำนาญการ มีหน้าที่โดยตรงในการระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐกับเอกชนในเรื่องการเก็บภาษีเข้ารัฐ โดยศาลทำหน้าที่คุ้มครองผลประโยชน์ของคู่กรณี แต่กฎหมายไม่ห้ามทนายความเข้าไปมีบทบาทเป็นผู้ให้คำปรึกษาแนะนำตัวความ หรือเป็นตัวแทนดำเนินคดีตามที่ตัวความมอบอำนาจ อย่างไรก็ดี ในคดีบางประเภท เช่น คดีเยาวชนและครอบครัว กฎหมายก็เห็นความสำคัญของทนายความ โดยกำหนดชัดเจนให้ทนายความเป็นที่ปรึกษาของจำเลยได้
22. การดำเนินดดีอาญา หมายถึง การปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเป็นหลัก ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษและเพื่อให้สังคมมีความสงบเรียบร้อยโดนสันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด
23. บทบาทของทนายความในการดำเนินคดีอาญา คือ การปฏิบัติตามหน้าที่ที่กำหนดไว้ในกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในส่วนที่จำเป็นต้องนำมาใช้ กฎหมายอื่น ๆ และข้อบังคับที่ออกภายใต้บังคับของกฎหมายนั้นมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีอาญา รวมทั้งข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความด้วย
24. บทบาทที่สำคัญของทนายความในการดำเนินคดีอาญา มี 3 ข้อ ดังนี้คือ
(1) การสอบข้อเท็จจริงก่อนรับดำเนินคดี
(2) การนำพยานหลักฐานขึ้นสู่การพิจารณาของศาล
(3) ต้องสละผลประโยชน์ส่วนตัวเพื่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
25. นอกจากคดีอาญาแล้วทนายความมีบทบาทในการดำเนินคดีดังต่อไปนี้ คือ คดีแพ่ง คดีล้มละลาย คดีเยาวชนและครอบครัว คดีแรงงาน คดีภาษีอากร
.
------------------------------------------------------
.
หน่วยที่ 6
ระบบงานอัยการและบทบาทของอัยการ
---------------------------------------------------
1. งานอัยการในประเทศไทยมีวิวัฒาการมาตั้งแต่สมัยรัชการที่ 5 ในปัจจุบันมีฐานะเป็นส่วนราชการที่ไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวงแต่ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ข้าราชการอัยการมีลักษณะกึ่งบริหาร กึ่งตุลาการ การบริหารงานบุคคลจึงต้องมีลักษณะแตกต่างจากข้าราชการทั่วไป มีหลักประกันในการปฏิบัติหน้าที่
2. อัยการเป็นตัวจักรสำคัญในกระบวนการยุติธรรม โดยทำหน้าที่เป็นผู้กลั่นกรองสำนวนการสอบสวนจากพนักงานสอบสวน และดำเนินคดีในศาลในฐานะโจทย์
3. นอกจากบทบาทในกระบวนการยุติธรรมแล้ว อัยการยังทำหน้าที่เป็นทนายแผ่นดินคุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐและประชาชนอีกด้วย
4. อัยการเป็นเจ้าพนักงานของรัฐซึ่งทำหน้าที่เป็นทนายแผ่นดิน มีวิวัฒนาการมาจากเจ้าพนักงานซึ่งทำหน้าที่ฟ้องคดีในสมัยรัชการที่ 5
5. สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นราชการบริหารส่วนกลาง การบริหารงานบุคคลอยู่ภายใต้การควบคุมของคณะกรรมการอัยการ
6. ก่อนที่จะมีอัยการฟ้องคดีอาญาให้แก่แผ่นดิน ประเทศไทยมีระบบการฟ้องคดีอาญาโดยราษฎรต้องวิ่งเต้นหาพยานเพื่อฟ้องคดีเอง โดยมีศาลพิจารณาคดีอาญาแยกกันอยู่หลายแห่งตามส่วนราชการต่าง ๆ
7. การแบ่งส่วนราชการของอัยการในปัจจุบัน แบ่งดังนี้
(1) กองกลาง
(2) สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายอัยการ
(3) สำนักงานคณะกรรมการอัยการ
(4) สำนักงานคดีแพ่ง
(5) สำนักงานคดีแพ่งธนบุรี
(6) สำนักงานคดีภาษีอากร
(7) สำนักงานคดียาเสพติด
(8) สำนักงานคดีเยาวชนและครอบครัว
(9) สำนักงานคดีแรงงาน
(10) สำนักงานคดีศาลแขวง
(11) สำนักงานคดีศาลสูง
(12) สำนักงานคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร
(13) สำนักงานคดีอาญา
(14) สำนักงานคดีอาญาธนบุรี
(15) สำนักงานคดีอัยการสูงสุด
(16) สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน
(17) สำนักงานที่ปรึกษากฎหมาย
(18) สำนักงานวิชาการ
(19) สำนักงานอัยการเขต
(20) สำนักงานอัยการจังหวัด
(21) สำนักงานอัยการประจำศาลแขวง
(22) สำนักงานอัยการประจำศาลจังหวัด
(23) สำนักงานอัยการประจำศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด
8. ป้จจุบันสำนักงานอัยการสูงสุดมีฐานะเป็นส่วนราชการที่ไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวงและมีฐานะเป็นกรมขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี มีอัยการสูงสุดเป็นหัวหน้า
9. การบริหารงานบุคคลของข้าราชการอัยการมีข้อควรพิจารณา ดังนี้
(1) คุณสมบัติของข้าราชการอัยการ
(2) มีการบังคับบัญชาตามลำดับชั้น
(3) ผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชาต่างปฏิบัติหน้าที่แทนกันได้
(4) มีความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่
(5)หลักประกันในการปฏิบัติหน้าที่การบริหารงานบุคคลของอัยการ
10. ที่ว่าอัยการมีอิสระในการปฏิบัติหน้าที่นั้น หมายความว่า ในการปฏิบัติหน้าที่ดำเนินคดีแพ่งและอาญา อัยการไม่ต้องตกอยู่ภายใต้บังคับของข้าราชการการเมือง กล่าวคือ สำนักงานอัยการสูงสุดจะอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี แต่กฎหมายให้อำนาจอยการสูงสุดที่จะใช้ดุลยพินิจดำเนินคดีได้ตามที่เห็นสมควร นายกรัฐมนตรีไม่มีอำนาจที่จะสั่งอัยการเกี่ยวกับการดำเนินการต่าง ๆ ทำนองเดียวกัน อัยการที่ไปประจำในส่วนภูมิภาคก็ไม่ต้องอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของผู้ว่าราชการจังหวัดในเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินคดี ผู้ว่าราชการจังหวัดจะสั่งให้อัยการดำเนินคดีไปทางหนึ่งทางใดไม่ได้
11. แม้ว่าอัยการจะมิได้มีอำนาจทำการสอบสวนโดยลำพัง แต่ก็มีอำนาจสั่งให้พนักงานสอบสวน สอบสวนเพิ่มเติม เพื่อความสมบูรณ์ของพยานหลักฐานในคดี
12. บทบาทที่สำคัญของอัยการในกระบวนการยุติธรรมก็คือ การสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องผู้ต้องหา อันจะมีผลให้ผู้ต้องหาตกเป็นจำเลย หรือเป็นอิสระพ้นข้อหาไป
13. เมื่ออัยการสั่งฟ้องแล้ว อัยการจะดำเนินคดีในศาลในฐานะโจทย์ เพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลย
14. ในคดีที่เจ้าพนักงานถูกกล่าวหาว่าฆ่าผู้อื่นในการปฏิบัติหน้าที่ การสอบสวนส่วนหนึ่งจะต้องทำโดยเปิดเผยในศาล และอำนาจสั่งคดีได้กำหนดไว้เป็นพิเศษให้เป็นของอัยการสูงสุด
15. ในการพิจารณาสั่งคดี อัยการจะพิจารณาว่า สมควรจะขอให้ศาลใช้วิธีการเพื่อความปลอดภัยแก่ผู้กระทำผิดหรือไม่ และมีคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการเพื่อความปลอดภัยด้วย
16. อัยการสูงสุดทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานกลางในการให้ความช่วยเหลือทางอาญาแก่ต่างประเทศ
17. เมื่อพนักงานสอบสวนส่งสำนวนการสอบสวนมายังอัยการ และอัยการเห็นว่าการสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้น ควรจะต้องสอบสวนพยานบางคนเพิ่มเติม ดังนี้อัยการจะเรียกพยานมาสอบสวนเพิ่มเติมเองไม่ได้ อัยการจะต้องสั่งให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนเพิ่มเติมหรือสั่งให้พนักงานสอบสวนนำพยานมาให้ทำการซักถาม
18. กฎหมายได้ให้อำนาจแก่พนักงานอัยการที่จะดำเนินการต่อไปนี้ก่อนการสั่งคดี คือ
(1) อำนาจในการควบคุม หรือปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหา
(2) สั่งให้พนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนเพิ่มเติมใน ปวอ. มาตรา 143
(3) สั่งให้พนักงานสอบสวนส่งพยานคนใดคนหนึ่งมาให้ซักถามเพื่อสั่งต่อไป
19. การสั่งคดีของอัยการ หมายถึง การพิจารณาสำนวนการสอบสวนที่พนักงานสอบสวนส่งมา รวมทั้งการพิจารณาผลการดำเนินคดีในศาล ทั้งในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายและออกคำสั่งซึ่งมีผลอย่างใดอย่างหนึ่งต่อคดี
20. การสั่งคดีของอัยการอาจจำแนกออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ตามประเภทของสำนวนสอบสวนที่พนักงานสอบสวนส่งมา ดังนี้
(1) เป็นสำนวนที่ไม่ปรากฎตัวผู้กระทำความผิด
(2) เป็นสำนวนซึ่งปรากฎตัวผู้กระทำความผิดแต่เรียกหรือจับตัวไม่ได้
(3) เป็นสำนวนซึ่งปรากฎตัวผู้กระทำความผิด และผู้นั้นถูกควบคุมหรือขังอยู่ หรือปล่อยชั่วคราว หรือเชื่อว่าคงได้ตัวมาเมื่อออกหมายเรียก
(4) เป็นสำนวนความผิดซึ่งพนักงานสอบสวนเปรียบเทียบปรับได้
21. การที่อัยการสั่งงดสอบสวนนั้น ไม่ตัดอำนาจพนักงานสอบสวนที่อาจนำสำนวนที่งดการสอบสวนไปแล้วมาสอบสวนใหม่ได้ภายในอายุความคดีนั้น คำสั่งงดสอบสวนของอัยการมิได้ทำให้คดียุติเด็ดขาด
22. ในกรณีที่อัยการสั่งไม่ฟ้อง จะต้องส่งสำนวนการสอบสวนไปให้ใครพิจารณาบ้าง
(1) ในเขตกรุงเทพมหานคร ต้องส่งไปให้อธิบดีกรมตำรวจ รองอธิบดีกรมตำรวจ หรือผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ
(2) ในจังหวัดอื่น ต้องส่งไปให้ผู้ว่าราชการจังหวัด
23. บทบาทของอัยการในการดำเนินคดีชั้นศาล มีดังนี้
(1) การยื่นฟ้อง
(2) การสืบพยาน
(3) การยื่นคำอุทธรณ์ ฎีกา
24. เหตุอันสมควรที่อัยการจะถอนฟ้องได้ มีดังนี้
(1) ถอนฟ้องด้วยเหตุผลเกี่ยวกับข้อเท็จจริง
(2) ถอนฟ้องด้วยเหตุผลทางกฎหมาย
(3) ถอนฟ้องด้วยเหตุนโยบายเพื่อประโยชน์ของประชาชน
25. ตาม ปวอ. คดีวิสามัญฆาตกรรมอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ
(1) คดีที่ผู้ตายถูกเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ฆ่าตาย
(2) คดีที่ผู้ตายตายในระหว่างที่อยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติหน้าที่
26. มีข้อสังเกตเกี่ยวกับการใช้แพทย์ร่วมในการชันสูตรพลิกศพ ดังนี้
(1) จะใช้แพทย์ประจำโรงพยาบาลเอกชนไม่ได้
(2) การชันสูตรพลิกศพ แพทย์จะมอบหมายให้บุคคลอื่นทำแทนไม่ได้ เพราะเป็นหน้าที่เฉพาะของแพทย์ เช่น อนามัยจังหวัดจะมอบหมายให้ผู้ช่วยอนามัยจังหวัดทำแทนไม่ได้
(3) แพทย์ที่ทำการชันสูตรพลิกศพต้องเป็นแพทย์ตามตำแหน่งที่ระบุไว้ในกฎหมายเท่านั้น ถ้าเป็นตำแหน่งอื่นแม้จะสูงกว่าตำแหน่งที่ระบุในกฎหมายก็จะทำการชันสูตรพลิกศพไม่ได้
(4) แพทย์ที่จะทำการชันสูตรพลิกศพ จะต้องเป็นแพทย์ในเขตท้องที่ที่พบศพนั้นจะมาใช้แพทย์ประจำสถานีอนามัยอำเภอแห่งหนึ่งไปชันสูตรพลิกศพในท้องที่อีกแห่งไม่ได้
27. การสอบสวนคดีวิสามัญฆาตกรรมมีขั้นตอนที่แตกต่างจากการสอบสวนธรรมดา ดังนี้
(1) ต้องมีการชันสูตรพลิกศพ ซึ่งกระทำโดยพนักงานสอบสวนและแพทย์ประจำโรงพยาบาล อนามัยจังหวัด หรือแพทย์ประจำสุขศาลา
(2) ต้องมีการไต่สวนโดยเปิดเผยในศาล โดยกฎหมายกำหนดให้พนักงานอัยการเป็นผู้ยื่นคำร้องขอต่อศาลให้ไต่สวน การไต่สวนในศาลนี้ก็เพื่อให้ทราบว่า ผู้ตายคือใคร ตายที่ไหน เมื่อใด เหตุและพฤติการณ์ที่ตาย ใครเป็นคนทำร้ายเท่าที่พอจะทราบได้
(3) ผู้สั่งคดีคืออัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทนเท่านั้น
28. วิธีการเพื่อความปลอดภัย หมายถึง มาตรการซึ่งกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายอาญา 5 ประเภท อันได้แก่ การกักกัน การห้ามเข้าเขตกำหนด การเรียกประกันทัณฑ์บน การคุมตัวในสถานพยาบาล และการห้ามประกอบอาชีพบางอย่าง มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกระทำความผิด
29. บทบาทของอัยการในการคุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐอาจแบ่งแยกพิจารณาได้ดังนี้
(1) การว่าต่างแก้ต่างคดีแพ่ง
(2) การแก้ต่างคดีอาญา
(3) การตรวจร่างสัญญา
(4) การให้คำปรึกษาหารือทางกฎหมาย
(5) การบังคับคดีกรณีผู้ต้องหาหรือจำเลยผิดสัญญาประกันต่อศาล
30. กรณีที่อัยการมีหน้าที่ต้องรับแก้ต่างให้ฝ่ายปกครอง คือ กรณีที่กระทรวง ทบวง กรม ถูกฟ้องและขอให้อัยการแก้ต่าง และกรณีที่อัยการอาจใช้ดุลยพินิจรับแก้ต่าง ได้แก่
(1) เจ้าพนักงานถูกฟ้องในเรื่องการที่ทำไปตามหน้าที่
(2) ราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดถูกฟ้องในเรื่องการได้ทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน ซึ่งได้สั่งการโดยชอบด้วยกฎหมายหรือเข้าร่วมกับเจ้าพนักงานกระทำการในหน้าที่ราชการ
(3) เทศบาลหรือสุขาภิบาลถูกฟ้อง ซึ่งมิใช่เป็นคดีพิพาทกับรัฐบาล
(4) นิติบุคคลซึ่งได้มีพระราชบัญญัติพร้อมพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้นถูกฟ้อง ซึ่งมิใช่เป็นคดีที่พิพาทกับรัฐบาล
31. การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชน ได้แก่ กรณีดังต่อไปนี้
(1) ร้องขอต่อศาลให้สั่งให้คนวิกลจริตตกเป็นคนไร้ความสามรถ
(2) ร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งแสดงว่าบุคคลเป็นคนสาบสูญ
(3) ร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งแสดงว่าบุคคลเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ
(4) ร้องขอให้ศาลสั่งจัดสรรทรัพย์ของมูลนิธีที่สิ้นสุดลงให้แก่นิติบุคคล ซึ่งมีวัตถุประสงค์ใกล้ชิด กับวัตถุประสงค์เดิมของมูลนิธินั้น
(5) ร้องขอให้ศาลถอนอำนาจปกครองกรณีผู้ใช้อำนาจปกครองไม่เหมาะสมที่จะใช้อำนาจปกครองต่อไป
(6) ร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะ
(7) ฟ้องคดีอุทลุม
(8) ร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก
32. อัยการจะยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกให้แก่ราษฎรได้ในกรณีต่อไปนี้
(1) เมื่อเจ้ามรดกตาย และทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมได้สูญหายไปหรืออยู่นอกราชอาณาเขต หรือเป็นผู้เยาว์
(2) เมื่อผู้จัดการมรดกหรือทายาทไม่สามารถหรือไม่เต็มใจที่จะจัดการ หรือมีเหตุขัดข้องในการจัดการ หรือ ในการแบ่งปันมรดก
(3) เมื่อข้อกำหนดพินัยกรรม ซึ่งตั้งผู้จัดการมรดกไว้ไม่มีผลบังคับได้ด้วยประการใด ๆ
.
---------------------------------------
.
หน่วยที่ 7
ระบบงานศาลยุติธรรม
------------------------------
1. ประเทศไทยจัดระบบอำนวยความยุติธรรมโดยถือหลักว่า พระมหากษัตริย์เป็นที่มาของความยุติธรรมตั้งแต่สมัยสุโขทัย แม้ได้มีการปฏิรูประบบการศาลให้ทันสมัย โดยจัดระบบองค์กรของศาลให้สอดคล้องกับนานาอารยประเทศแล้ว ก็ยังคงยึดถือหลักว่า การพิจารณาพิพากษาคดีเป็นอำนาจของศาลโดยเฉพาะ ซึ่งจะต้องดำเนินการในพระปรมาไธยพระมหากษัตริย์
2. บุคลากรของศาลที่สำคัญ คือ ผู้พิพากษาและข้าราชการธุรการ ผู้พิพากษา คือ ผู้ที่ทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดี ซึ่งจะต้องคัดเลือกจากผู้ที่มีความรู้ความสามารถ มีความประพฤติและประวัติอันดีงาม ตลอดจนมีความซื่อสัตย์สุจริต ส่วนเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรการจะเป็นกำลังสำคัญที่ช่วยสนับสนุนให้งานพิจารณาพิพากษาคดีของศาลได้ดำเนินไปโดยเรียบร้อยรวดเร็วและเป็นธรรม
3. ประเทศไทยมีประวัติศาสตร์การจัดระบบเพื่ออำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย โดยถือว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ใช้อำนาจนี้โดยตรง ต่อมาได้มีการปฏิรูประบบศาลให้เข้ากับระบบของนานาอารยประเทศเมื่อสมัยรัชกาลที่ 5
4. การจัดรูปองค์กรของศาลยุติธรรมแบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา ศาลชั้นต้นสำหรับกรุงเทพมหานครได้แยกตามประเภทคดี เช่น เป็นศาลแพ่ง ศาลอาญา ศาลแขวง ส่วนในต่างจังหวัดจะมีศาลจังหวัด ซึ่งเป็นศาลชั้นต้นสำหรับคดีแพ่งและคดีอาญาทั้งปวง และในบางจังหวัดยังมีศาลแขวงเพื่อพิจารณาคดีเล็กน้อย ๆ ด้วย
5. การบริหารงานของศาลและการพัฒนาศาลเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว ประหยัด และเป็นธรรม
6. แนวความคิดที่ว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นที่มาของความยุติธรรมนี้ ย่อมถือเป็นหลักสนับสนุนยืนยันทฤษฎีทางรัฐศาสตร์ที่ว่า ผู้ที่เป็นองค์อธิปัตย์ย่อมมีอำนาจอธิปไตยสูงสุดในการปกครองสังคมนั้น และตามความคิดเห็นของมองเตสกิเออที่แบ่งอำนาจอธิปไตยออกเป็น 3 ประเภท คือ อำนาจบริหาร อำนาจนิติบัญญัติ และอำนาจตุลาการ ก็ย่อมชี้ให้เห็นว่าอำนาจตุลาการหรืออำนาจในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาททั้งปวงนั้นเป็นอำนาจที่สำคัญยิ่ง ซึ่งผู้ปกครองประเทศในฐานะที่เป็นองค์อธิปัตย์ย่อมมีสิทธิเด็ดขาดที่จะใช้อำนาจนี้ และจากประวัติการจัดระบบศาลของทุกสังคมก็ยึดถือตามหลักการนี้ตลอดมา
7. นักประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า การปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นแบบ จตุสดมภ์ คือแบ่งราชการออกเป็น 4 กรม เรียกว่า เวียง วัง คลัง นา โดยมีเสนาบดีเป็นหัวหน้า ต่อมาในสมัยพระบรมไตรดโลกนาถ ได้ทรงตั้งตำแหน่งเพิ่มขึ้นอีก 2 ตำแหน่ง คือ สมุหพระกลาโหม มีอำนาจบังคับบัญชาราชการฝ่ายทหารทั่วไป และสมุหนายก มีอำนาจบังคับบัญชาราชการฝ่ายพลเรือนทั่วไป มีตำแหน่งเป็นอัครมหาเสนาบดี และมีอำนาจชำระคดีความต่าง ๆ
8. ผู้พิพากษาจะต้องไม่มีอคติ 4 คือ ฉันทาคติ โทสาคติ ภยาคติ และโมหาคติ คือ อย่าให้พิจารณาบังคับคดีโดยริษยา ให้มีมีเมตตาคู่ความสองข้างเท่า ๆๆ กัน ให้ทำคดีเหมือนกิจธุระของตน คือ รีบชำระและเอาใจใส่ ถ้าตุลาการผู้ใดกินสินบนตายไปก็ตกนรก
9. อาจสรุปได้ว่า ได้มีการพัฒนาระบบกฎหมายและการศาลเป็นอย่างมากในสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งกฎหมายบางส่วนยังเป็นมรดกตกทอดมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ถือว่าเป็นมรดกอันล้ำค่าที่แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมของชนชาติไทยแต่โบราณ
10. รัชกาลที่ 1 ได้ชำระสะสางกฎหมายที่มีอยู่ตั้งแต่สมัยครั้งกรุงศรีอยุธยาเสียใหม่รวบรวมไว้ในที่เดียวกัน เรียกว่า กฎหมายตราสามดวง
11. การปฏิรูประบบการศาลในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ทรงจัดตั้งกระทรวงยุติธรรมขึ้น กำหนดให้ศาลต่าง ๆ ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ตามกระทรวงและกรมต่าง ๆ มาขึ้นอยู่กับกระทรวงยุติรรม และให้ระบบศาลที่มีอยู่เดิม 16 ศาล คงอยู่แค่ 7 ศาล จัดตั้งกรมรับฟ้องขึ้นและจัดระเบียบในเรื่องการอุทธรณ์ฎีการให้ชัดเจน
12. สิทธิสภาพนอกอาณาเขต หมายถึง การที่ประเทศใดประเทศหนึ่งมีอำนาจในบางเรื่องเหนืออำนาจอธิปไตยของประเทศอื่น เช่น กรณีประเทศอังกฤษหรือฝรั่งเศสไม่ยอมรับอำนาจของศาลไทยเมื่อคนในสัญชาติตนหรือในบังคับของตนกระทำผิดกฎหมายหรือมีข้อพิพาททางกฎหมายซึ่งจะต้องขึ้นศาลไทย แต่ก็ไม่ยอมให้ศาลไทยพิจารณาพิพากษาคดีนั้น จะต้องมีการจัดให้ศาลของตน เช่น ศาลกงสุลขึ้นมา เป็นต้น
13. สหรัฐอเมริกามีบทบาทเป็นผู้นำในการแก้ไขสนธิสัญญาเพื่อความเสมอภาค รวมความได้ว่าเมื่อใดประเทศไทยได้ประกาศใช้ประมวลกฎหมายทั้งหลาย คือ ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายแพ่ง ประมวลวิธีพิจารณาความอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่และพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ซึ่งรัฐบาลไทยได้ประกาศใช้ประมวลกฎหมายครบบริบูรณ์ใน พ.ศ. 2478 สิทธิสภาพนอกอาณาเขตก็สิ้นสุดลงในปีระหว่าง พ.ศ. 2480-2481
14. การจัดรูปองค์กรของศาลย่อมเป็นไปตามกฎหมาย เช่น พระธรรมนูญศาลยุติธรรมและกฎหมายจัดตั้งศาล นอกจากนั้นยังต้องพิจารณาถึงบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีหลักการว่า การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเป็นอำนาจของศาลไทยโดยเฉพาะ
15. อาจสรุปได้ว่าประเภทของศาลมีดังนี้
(1) ศาลยุติธรรม
(2) ศาลอื่น ๆ ตาที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้น เช่น ที่มีอยู่นปัจจุบันก็คือศาลแรงงานและศาลภาษีอากร
(3) ศาลทหาร
16. พระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 2 แบ่งศาลยุติธรรมออกเป็น 3 ชั้น คือ
(1) ศาลชั้นต้น
(2) ศาลอุทธรณ์
(3) ศาลฎีกา
17. ศาลในกรุงเทพมหานครมีศาลแขวง 6 ศาล คือ
(1) ศาลแขวงพระนครใต้
(2) ศาลแขวงพระนครเหนือ
(3) ศาลแขวงธนบุรี
(4) ศาลแขวงดุสิต
(5) ศาลแขวงตลิ่งชัน
(6) ศาลแขวงพระโขนง
18. การบริหารงานศาลอาจพิจารณาได้ใน 2 ลักษณะดังนี้
(1) การบริหารงานของกระทรวงยุติธรรม
(2) การบริหารงานภายในศาล
19. การพัฒนาและวางแผนเพื่อพัฒนางานของศาลและกระทรวงยุติธรรมที่สำคัญ โดยเน้นการแก้ไขปัญหาหลัก 2 ประการดังนี้
(1) ปัญหาความล่าช้าในการพิจารณาพิพากษาคดี
(2) ปัญหาความไม่เสมอภาคกันของประชาชนทางด้านการได้รับบริการความยุติธรรมจากรัฐ
20. หน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการสืบเสาะข้อมูลขอผู้กระทำความผิดมาเสนอต่อศาลเพื่อที่ศาลจะใช้ดุลพินิจในการลงโทษผุ้กระทำผิด คือ กรมคุมประพฤติ
21. ผู้พิพากษา คือ ผู้ทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดี ซึ่งจะต้องคัดเลือกจากผู้ที่มีความรู้ความสามารถมีความประพฤติและประวัติอันดีงาม ตลอดจนมีความซื่อสัตย์สุจริต และยึดมั่นในจริยธรรม
22. ในการปฏิบัติหน้าที่ ผู้พิพากษาจะต้องมีอิสระในการใช้อำนาจตามหน้าที่ของตน โดยไม่ตกอยู่ภายใต้อำนาจหรืออิทธิพลของฝ่ายอื่น ทั้งผู้พิพากษาจะต้องดำรงตนอยู่ในจริยธรรมอันดีงามด้วย
23. เจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรการ คือ ผู้ที่ช่วยสนับสนุนให้งานพิจารณาพิพากษาคดีของศาลได้ดำเนินไปโดยเรียบร้อย รวดเร็ว และเป็นธรรม
24. ผู้พิพากษาควรมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ
(2) เป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต
(3) เป็นผู้ที่ยึดมั่นในจริยธรรม
24. วิธีการต่าง ๆ ที่ปฏิบัติกันอยู่เพื่อหลักประกันในความอิสระของผู้พิพากษาพอสรุปได้ดังนี้
(1) การให้ผู้พิพากษาดำรงตำแหน่งตลอดชีวิต วิธีการนี้มีใช้อยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา
(2) การให้หลักประกันเรื่องความมั่นคงในการดำรงตำแหน่ง
(3) การให้หลักประกันในเรื่องเงินเดือนและสวัสดิการที่สูง
(4) การให้ผู้พิพากษาบริหารงานและปกครองกันเอง
(5) การให้เกียรติและเคารพยกย่องแก่ตำแหน่งผู้พิพากษา
25. หลักการสำคัญที่รัฐธรรมนูญ บัญญัติไว้เพื่อให้เป็นการประกันความเป็นอิสระของผู้พิพากษามีดังนี้
(1) การยืนยันในหลักการว่าผู้พิพากษามีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี
(2) การยืนยันในหลักการว่าอำนาจตุลาการหรืออำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีเป็นของศาลโดยเฉพาะ
(3) การให้มีองค์กรที่เรียกว่า "คณะกรรมการตุลาการ" หรือ "ก.ต." ทำหน้าทีให้ความคุ้มครองแก่ผู้พิพากษาในเรื่องความมั่นคงในการทำงาน
26. ข้าราชการฝ่ายตุลาการจึงมีความหมายรวมถึงข้าราชการ 3 ประเภท คือ ข้าราชการตุลาการ ดะโต๊ะยุติธรรม และข้าราชการธุรการ
27. ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ธุรการที่มิได้เป็นข้าราชการสังกัดในศาล ได้แก่ เจ้าพนักงานบังคับคดี เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ พนักงานคุมประพฤติ ซึ่งเป็นข้าราชการที่สังกัดหน่วยงานอื่นเช่นกรมบังคับคดีและสำนักส่งเสริมงานตุลาการ ซึ่งถือว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของศาลมีหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลอีกด้วย
-----------------------------------------
หน่วยที่ 8
ศาลกับการพิจารณาและพิพากษาคดี
------------------------------------------------
1. ในคดีอาญา ผุ้ต้องหาหรือจำเลยได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่า ไม่มีความผิด ฉะนั้นก่อนศาลพิพากษาคดี กฎหมายจึงกำหนดมาตรการต่าง ๆ เพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหาหรือจำเลยไว้ ไม่ให้ถูกควบคุมนานเกินไปในระหว่างการสอบสวน ให้ได้รับการปล่อยชั่วคราว มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือจากทนาย รวมทั้งให้ศาลทำการพิจารณาและสืบพยานโดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลย
2. การพิพากษาคดีเป็นการใช้ดุลยพินิจวินิจฉัยความผิดของจำเลย และกำหนดโทษที่จะลง ในการวินิจฉัยความผิด ศาลจะต้องพิเคราะห์จากพยานหลักฐานต่าง ๆ จนแน่ใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงจึงจะลงโทษจำเลย การกำหนดโทษ ศาลจะใช้ดุลยพินิจตามอำเภอใจมิได้ แต่ต้องอยู่ในกรอบที่ฝ่ายนิติบัญญัติกำหนดไว้
3. เมื่ออำนาจของตำรวจในการควบคุมผู้ต้องหาหมดสิ้นลง หากยังจำเป็นต้องควบคุมผู้ต้องหาต่อไปอีก ตำรวจต้องนำตัวผู้ต้องหาไปฝากขังต่อศาล ศาลจะอนุญาตให้ฝากขังไว้ตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ขึ้นอยู่กับความร้ายแรงของความผิดที่กล่าวหา
4. ในระหว่างการสอบสวนหรือการพิจารณาคดีของศาล ผู้ต้องหาหรือจำเลยอาจได้รับอิสรภาพโดยวิธีการที่เรียกว่า ปล่อยชั่วคราว การปล่อยชั่วคราวเป็นเรื่องที่อยู่ในดุลยพินิจของเจ้าพนักงานหรือศาล ว่าจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
5. ในคดีอาญา ผู้ต้องหาหรือจำเลยมีสิทธิได้รับการช่วยเหลือจากทนาย ในชั้นสอบสวนทนายทำได้เพียงให้คำแนะนำแก่ผู้ต้องหา จะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการสอบสวนไม่ได้ แต่ชั้นศาล จำเลยจึงจะได้รับการช่วยเหลือจากทนายโดยเต็มที่ นอกจากนั้นจำเลยมีสิทธิขอให้ศาลตั้งทนายให้ด้วยตามที่กฎหมายระบุไว้
6. การพิจารณาและสืบพยานเป็นกระบวนการเสาะหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความผิดที่ฟ้อง เพื่อพิจารณาว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ๆ เป็นประการใด และใช้ข้อเท็จจริงนั้นเป็นเครื่องมือในการตัดสินคดี ในการนี้ กฎหมายให้จำเลยต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่ และการพิจารณาสืบพยานก็จะต้องกระทำในศาลโดยเปิดเผยและต่อหน้าจำเลยด้วย
7. เมื่อมีการกระทำความผิดอาญาเกิดขึ้น องค์กรแรกของสถาบันยุติธรรมที่จะเข้าไปเกี่ยวข้อง คือ ตำรวจ ซึ่งจะดำเนินการสืบสวนสอบสวนและจับกุมผู้ต้องหาว่ากระทำผิด เพื่อให้อัยการฟ้องผู้กระทำผิดต่อศาล
8. การใช้อำนาจคุมขังผู้ต้องหาระหว่างสอบสวนนั้นรัฐให้ตำรวจสามารถขังผู้ต้องหาไว้ได้เท่าที่จำเป็นตามพฤติการณ์แห่งคดี ให้ตำรวจใช้ดุลยพินิจ ซึ่งไม่อาจกำหนดหลักเกณฑ์ตายตัวได้ ย่อมแล้วแต่ข้อเท็จจริงในการดำเนินคดีเป็นเรื่อง ๆ ไป ระยะเวลาที่ตำรวจมีอำนาจขังผู้ต้องหาได้นั้น กฎหมายบัญญัติไว้ดังนี้ คือ ในกรณีซึ่งเป็นความผิดลหุโทษหรือความผิดที่ต้องโทษไม่สูงกว่าความผิดลหุโทษ ตำรวจมีอำนาจคุมขังผู้ถูกจับได้เท่าเวลาที่จะถามคำให้การ และที่จะรู้ตัวว่าเป็นใคร อยู่ที่ไหนเท่านั้น และไม่ว่าเป็นความผิดใดจะคุมขังผู้ถูกจับเกิน 48 ชั่วโมง นับแต่ผู้ถูกจับมาถึงสถานีตำรวจไม่ได้ เว้นแต่มีเหตุจำเป็นจะยืดเวลาเกิน 48 ชั่วโมงก็ได้ แต่ไม่ให้เกิน
7 วัน หากตำรวจสั่งขังผู้ต้องหาต่อไปอีกภายหลังที่หมดอำนาจควบคุมแล้ว ตำรวจก็มีความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่น
9. การฝากขังผู้ต้องหา หมายถึง การที่ตำรวจร้องขอต่อศาลให้ขังผู้ต้องหาได้ ภายหลังตำรวจหมดอำนาจที่จะคุมขังผู้ต้องหาอีกต่อไป ทำให้ศาลเข้ามามีบทบาทตรวจสอบดุลยพินิจของตำรวจว่าที่ขอให้ขังผู้ต้องหาต่อนั้นมีความจำเป็นหรือไม่ เพราะเป็นการคุ้มครองผู้ต้องหามิให้ต้องถูกขังนานเกินสมควร โดยเป็นอำนาจเด็ดขาดของศาล
10. ศาลมีอำนาจสั่งอนุญาตให้ขังผู้ต้องหาไว้ได้เพียงระยะเวลาหนึ่งตามความหนักเบาของโทษในความผิดที่ได้กระทำ ดังนี้
(1) ถ้าความผิดที่กระทำมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน 500 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลมีอำนาจสั่งขังได้ครั้งเดียวมีกำหนดไม่เกิน 7 วัน
(2) ถ้าความผิดที่กระทำมีโทษจำคุกเกิน 6 เดือน แต่ไม่ถึง 10 ปี หรือปรับเกินกว่า 500 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลมีอำนาจสั่งขังหลายครั้งติด ๆ กันได้แต่ครั้งหนึ่งต้องไม่เกิน 12 วัน และรวมกันทั้งหมดต้องไม่เกิน 48 วัน
(3) ถ้ามีความผิดที่กระทำมีโทษจำคุกตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป จะมีโทษปรับด้วยหรือไม่ก็ตาม ศาลมีอำนาจสั่งขังหลายคราวติด ๆ กันได้ แต่ครั้งหนึ่งต้องไม่เกิน 12 วัน และรวมกันทั้งหมดต้องเกิน 84 วัน
11. ในความผิดอาญา ผู้ต้องหาจะถูกขังในระหว่างการสอบสวนของตำรวจได้นานที่สุด 91 วัน คือ ขังโดยอำนาจของตำรวจ 7 วัน และขังโดยอำนาจของศาลอีก 84 วัน ซึ่งมีได้เฉพาะในความผิดที่มีโทษจำคุกตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ตำรวจจะต้องเร่งดำเนินการสอบสวนเพื่อฟ้องผู้ต้องหาให้ทันภายใน 91 วัน นับแต่วันที่นำผู้ต้องหามาขังไว้ที่สถานีตำรวจ ถ้าไม่ฟ้องภายในกำหนด ศาลปล่อยตัวผู้ต้องหา ถ้า
ผู้ต้องหาถูกกักขังอยู่
12. เมื่อผู้ต้องหาถูกฟ้องต่อศาล นับแต่วาระนั้นคดีอยู่ในอำนาจของศาล และผู้ต้องหาก็มีฐานะใหม่ทางกฎหมายกลายเป็นจำเลย จึงไม่ต้องมีการฝากขังอีก แต่อยู่ในอำนาจของศาลว่าจะให้ขังไว้ในเรือนจำจนถึงวันพิพากษาคดี หรืออนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวในระหว่างนั้น
13. โดยหลักกฎหมายมีอยู่ว่า บุคคลจะถูกถือว่าเป็นผู้กระทำผิดก็ต่อเมื่อศาลพิพากษา ตราบใดที่ยังไม่มีคำพิพากษาของศาลว่าบุคคลใดกระทำผิดก็จะถือว่าบุคคลนั้นเป็นผู้กระทำผิดมิได้ การที่บุคคลตกเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาไม่ได้หมายความว่าบุคคลนั้นเป็นผู้กระทำผิดแต่อย่างใด การที่รัฐเข้าไปจำกัดเสรีภาพของผู้ต้องหราหรือจำเลย ก็เท่ากับเป็นการลงโทษผู้ที่มิได้กระทำผิดนั่นเอง ซึ่งไม่ยุติธรรมแก่ผู้ต้องหาหรือจำเลย
14. รัฐเองตระหนักถึงความไม่เป็นธรรม จึงผ่อนคลายความเคร่งครัดของการขังผู้ต้องหาหรือจำเลย โดยให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานที่จะอนุญาตให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยได้รับอิสรภาพในระหว่างดำเนินคดีที่เรียกว่า ปล่อยชั่วคราว หรือ ประกันตัว
15. ในระบบกฎหมายของไทย ผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาไม่มีสิทธิที่จะประกันตัว กล่าวคือรัฐไม่ได้ให้สิทธิแก่ผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาที่จะได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวหรือมีประกันตัว แต่เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานที่จะให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยมีประกันตัวต่างหาก
16. การปล่อยตัวชั่วคราวหรือการประกันตัวในระบบกฎหมายของไทย แบ่งพิจารณาเป็น 3 ข้อ คือ
(1) ประเภทของการปล่อยชั่วคราว
(2) วิธีขอปล่อยชั่วคราว
(3) การวินิจฉัยให้ปล่อยชั่วคราว
17. บทบัญญัตินี้เท่ากับเป็นการประกันสิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยที่จะได้รับการช่วยเหลือจากทนาย มิใช่เป็นการให้สิทธิอย่างธรรมดาเท่านั้น เพราะรัฐธรรมนูญกำหนดว่าถ้าผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นคนยากจน รัฐมีหน้าที่ต้องจัดหาทนายให้ผู้นั้น และเป็นการประกันสิทธิของทั้งผู้ต้องหาและจำเลยด้วย หมายความว่า ผู้ต้องหาก็มีสิทธิได้รับการช่วยเหลือจากทนายเช่นกัน ถ้าผู้ต้องหาไม่มีเงิน รัฐก็จะจัดหาทนายให้
18. คงเป็นที่ยอมรับว่า หลักปฏิบัติดังกล่าวเป็นสิ่งที่ดีเป็นการคุ้มครองผุ้ต้องหามิให้ถูกครอบงำโดยอำนาจของตำรวจ และเป็นหลักประกันความยุติธรรมในการการยุติธรรมด้วย
19. มาตรา 173 คดีที่จำเลยได้รับประกันสิทธิที่จะมีทนายในชั้นศาลมี 4 ประเภท คือ
(1) คดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต
(2) คดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่ 10 ปีแต่ไม่ถึงประหารชีวิต
(3) คดีที่จำเลยเป็นเด็กอายุไม่เกิน 17 ปี
(4) คดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป แต่ไม่ถึง 10 ปี และจำเลยยากจน
20. ในคดีที่จำเลยให้การปฏิเสธ ลักษณะของการดำเนินคดีในศาลเป็นดังนี้
(1) โจทย์แถลงเปิดคดี แล้วนำพยานเข้าสืบ
(2) เมื่อสืบพยานโจทก์เสร็จ จำเลยนำพยานเข้าสืบ
(3) เมื่อสืบพยานโจทก็และจำเลยเสร็จ โจทก์จำเลยอาจแถลงคดี
(4) ศาลทำการพิพากษาคดี
21. หลักการในการพิพากษาคดีมีอยู่ว่า ศาลจะต้องพิเคราะห์พยานหลักฐานต่าง ๆ จนแน่ใจว่าได้มีการกระทำความผิดจริงและจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดนั้น ศาลจึงจะพิพากษาลงโทษจำเลย
22. การอุทธรณ์ฎีกาเป็นวิธีการสำหรับให้ศาลสูงได้มีโอกาสตรวจสอบคำวินิจฉัยของศาลล่าง การอุทธรณ์ฎีกาจึงกระทำได้สำหรับคดีที่มีความสำคัญควรแก่การวินิจฉัยของศาลสูง คดีที่มีการอุทธรณ์ฎีกาจึงมีน้อยมากเมื่อเทียบกับคดีในศาลชั้นต้น
23. แม้ศาลจะให้ดุลยพินิจโดยรอบคอบในการพิพากษาคดี ทั้งให้มีการตรวจสอบโดยศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา แต่ก็อาจมีกรณีผิดพลาดพิพากษาลงโทษผู้ที่มิได้กระทำผิดได้ รัฐจึงให้สิทธิแก่ผู้นั้นที่จะร้องขอต่อศาลให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ และเรียกค่าทดแทนจากรัฐหรือขอคืนสิทธิที่เสียไป แต่สิทธิขอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่นี้ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขและวิธีการในกฎหมาย
24. การพิพากษาคดีประกอบด้วยสาระสำคัญ 2 ประการได้แก่ การวินิจฉัยความผิด การกำหนดโทษ
25. การใช้ดุลยพินิจกำหนดโทษ มีดังนี้คือ ลักษณะของผู้กระทำผิด ลักษณะของผู้ถูกกระทำร้าย ประโยชน์ของรัฐหรือสาธารณชน
26. แนวความคิดในการกำหนดโทษที่มักจะอ้างกัน คือ
(1) การทดแทนความผิด
(2) การแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิด
(3) การยับยั้งผู้อื่น
(4) การแยกตัวผู้กระทำผิดไปจากสังคม
พิจารณาการกำหนดโทษของศาลไทยในทางปฏิบัติ แล้วชี้ให้เห็นว่าอยู่ในแนวความคิดใดข้างต้น
27. การพิพากษาคดีของศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา ส่วนใหญ่คำพิพากษาจะเป็นไปในลักษณะ คือ
(1) พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลล่าง
(2) พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลล่าง
(3) พิพากษากลับคำพิพากษาศาลล่าง
(4) พิพากษายกฟ้องอุทธรณ์ หรือฟ้องฎีกา
28. จงอธิบายวิธีการร้องขอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่
(1) ต้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นที่ได้พิพากษาคดีนั้น
(2) ศาลจะทำการไต่สวนคำร้องว่ามีมูลหรือไม่ แล้วนำความเห็นส่งสำนวนให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยรับคำร้องหรือยกคำร้องนั้น
(3) ในกรณีสั่งรับคำร้อง ศาลชั้นต้นจะสืบพยานหลักฐานต่าง ๆ ทั้งของผู้ร้องและของโจทก์ในคดีเดิมแล้วพิพากษายกคำร้องหรือพิพากษายกคำพิพากษาเดิม และพิพากษาว่าผู้ต้องรับโทษมิได้กระทำผิดพร้อมทั้งกำหนดค่าตอบแทนหรือสั่งคืนสิทธิด้วย
----------------------------------------------
หน่วยที่ 9
ระบบงานคุมประพฤติและกระบวนการคุมประพฤติ
----------------------------------------------------------------
1. การคุมประพฤติเป็นกระบวนการยุติธรรมทั้งก่อนศาลพิพากษาคดีและภายหลังศาลพิพากษาคดี กระบวนการยุติธรรมก่อนศาลพิพากษาคดี เรียกว่า การสืบเสาะและพินิจ คือ การประมวลข้อเท็จจริงเกี่ยวกับจำเลย และการทำรายงานเสนอต่อศาล เพื่อศาลใช้ประกอบการพิจารณาพิพากษาคดี และกระบวนการยุติธรรมภายหลัง ศาลพิพากษาคดี เรียกว่า การควบคุมและสอดส่อง คือ การคุมความประพฤติจำเลยตามคำพิพากษาของศาล
2. การคุมความประพฤติประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ คือ การควบคุมสอดส่อง การให้บริการหรือการช่วยเหลือและการให้คำปรึกษาแนะนำแก่จำเลยและครอบครัว เพื่อให้ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลและกลับตนเป็นพลเมืองดีของสังคม
3. การคุมความประพฤติมีวิวัฒนาการจากวิธีการเลี่ยงโทษจำคุก และการรอการลงโทษตามกฎหมายจารีตประเพณี ต่อมาได้เริ่มมีการำวิธีการนี้ไปใช้อย่างจริงจังในประเทศสหรัฐอเมริกาจนเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นวิธีการปฏิบัติต่อผู้กระทำความผิดที่ได้ผลดีอย่างหนึ่งและได้นำไปใช้ทั่วโลก
4. การประมวลข้อเท็จจริงเกี่ยวกับจำเลยและการทำรายงานเสนอต่อศาลเป็นกระบวนการที่สำคัญมากของระบบคุมประพฤติควบคู่กันไปกับการควบคุมและสอดคล้อง จำเลยตามคำพิพากษาของศาล คือ จะทำให้ศาลได้ทราบข้อเท็จจริงที่ถูกต้องเกี่ยวกับจำเลย และพิพากษาคดีอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม
5. การปฏิบัติต่อผู้กระทำความผิดตามคำพิพากษาของศาล อาจแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ การปฏิบัติต่อผู้กระทำผิดในชุมชน และการปฏิบัติต่อผู้กระทำความผิดในเรือนจำหรือทัณฑสถาน
6. การปฏิบัติต่อผู้กระทำความผิดในชุมชนโดยส่วนใหญ่ ได้แก่ การคุมความประพฤติจำเลยที่ศาลได้รอการลงโทษและคุมความประพฤติไว้ และการคุมความประพฤติผู้ต้องโทษจำคุกและได้รับการพักการลงโทษ หรือปล่อยตัวไปก่อนครบกำหนดโทษ เพราะได้รับการลดวันต้องโทษ
7. ก่อนที่จะมีระบบคุมประพฤติในปัจจุบันนี้ มีวิธีการหลีกเลี่ยงการลงโทษอย่างรุนแรง ดังต่อไปนี้
(1) สิทธิขอลี้ภัยในวัด
(2) ประโยชน์ของการเป็นนักบวช
(3) การรอการลงโทษตามกฎหมายจารีตประเพณี
8. นายจอห์น ออกัสตัส ได้ชื่อว่าเป็น "บิดาของการคุมประพฤติ" ต่อมาใน ค.ศ. 1878 มลรัฐแมสซาซูเซตได้ผ่านร่างกฎหมายคุมประพฤติฉบับแรก มีการแต่งตั้งพนักงานคุมประพฤติประจำศาลเมืองบอสตันโดยให้มีเงินเดือนประจำและอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของหัวหน้าตำรวจเมืองบอสตัน หน้าที่ของพนักงานคุมประพฤตินี้ประกอบด้วยการไปฟังการพิจารณาคดีที่ศาล การสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคคีของบุคคลที่ถูกฟ้องหรือศาลพบว่าได้กระทำความผิดอุกฉกรรจ์หรือเล็ก ๆ น้อย ๆ การทำข้อเสนอแนะต่อศาลว่าสมควรจะใช้วิธีคุมความประพฤติเพื่อมิให้หวนกลับไปกระทำความผิดอีก และยังให้อำนาจในการจับกุมผู้ถูกคุมประพฤติโดยไม่ต้องมีหมายจับแต่ต้องได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาก่อน
9. วัตถุประสงค์ของการคุมประพฤติ คือ การคุ้มครองป้องกันสังคมจากอาชญากรรมนอกจากวัตถุประสงค์นี้แล้ว การคุมประพฤติยังมีวัตถุประสงค์อีก 2 ประการ คือ
(1) เพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับจำเลยแก่ศาลก่อนศาลพิพากษาคดี
(2) เพื่อแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดให้กลับตนเป็นพลเมืองดีด้วยวิการคุมความประพฤติ
10. การคุมประพฤติมีประวัติความเป็นมาจากวิธีการทางปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงการลงโทษที่รุนแรงในสมัยก่อนศตวรรษที่ 19 โดยเริ่มจากการให้ความคุ้มครองแก่บุคคลที่อยู่เขตอำนาจศาลของคริสต์ศาสนามิให้ถูกลงโทษประหารชีวิตตามกฎหมายบ้านเมืองที่เรียกว่า สิทธิขอลี้ภัยในวัด และประโยชน์ของการเป็นนักบวช ต่อมาได้มีวิธีการปฏิบัติตามกฎหมายจารีตประเพณี ที่ให้อำนาจศาลรอการลงโทษจำคุกแล้วปล่อยตัวผู้กระทำความผิดไป เพื่อให้โอกาสจำเลยยื่นฎีกาขออภัยโทษ หรือจำเลยให้คำมั่นว่าจะรักษาความสงบและจะไปรางานตัวต่อศาลหรือปล่อยตัวไปโดยมีประกัน หรือในกรณีที่ศาลพอใจว่ามีเหตุอันควรปรานีและการลงโทษไม่ใช่เรื่องรีบด่วน
11. ต่อมามีช่างทำรองเท้าผู้หนึ่งชือ จอห์น ออกัสตัส ได้ไปขอประกันตัวชายหนุ่มขี้เมาคนหนึ่งที่ถูกจับกุมส่งไปดำเนินคดีศษลเมืองบอสตัน และได้นำตัวชายหนุ่มคนนั้นไปศาลในเวลาต่อมา ซึ่งปรากฎต่อศาลว่าชายหนุ่มคนนั้นเลิกดื่มสุราได้ ศาลจึงปรับเพียง 1 เซ็นต์แล้วปล่อยตัวไป นายจอห์น ออกัสตัส ได้ประกันตัวผู้กระทำความผิดไปประมาณ 2,000 คน โดยก่อนจะประกันตัวไป ได้สอบประวัติของแต่ละคนโดยละเอียดและเมื่อประกันตัวไปแล้วก็มีการควบคุมดูแลให้ทำงาน ฝึกวิชาชีพหรือเรียนหนังสือตามความเหมาะสมเป็นกรณี ๆ ไป การดำเนินงานได้ผลดีในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดมาก และวิธีการดังกล่าวนี้ก็ได้แพร่หลายออกไปจนกระทั่งมลรัฐแมสซาซูเซตส์ ได้บัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับการคุมประพฤติฉบับแรกขึ้นมาใน ค.ศ. 1878 และแต่งตั้งพนักงานคุมประพฤติที่มีเงินเดือนประจำเข้าทำงาน นับแต่นั้นเป็นต้นมาการคุมประพฤติได้แพร่หลายออกไปทั่วทุกมลรัฐของสหรัฐอเมริกา และแพร่หลายไปยังประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก และการคุมประพฤติได้รับการเชิดชูว่าเป็นวิธีการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดในชุมชนที่ได้ผลดีที่สุดวิธีการหนึ่ง
12. ระบบคุมประพฤติในประเทศไทย ประกอบด้วยระบบคุมประพฤติ 2 ระบบ คือ ระบบคุมประพฤติผู้กระทำความผิดที่เป็นเด็กและเยาวชน และ ระบบคุมประพฤติผู้กระทำความผิดที่เป็นผู้ใหญ่
13. ระบบคุมประพฤติผู้กระทำความผิดที่เป็นเด็กและเยาวชนได้นำมาใช้ในประเทศไทยพร้อมกับการเปิดดำเนินการศาลคดีเด็กและเยาวชนกลางและสถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลาง เมื่อ พ.ศ. 2495 โดยเป็นระบบงานย่อยของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลาง
14. ระบบคุมประพฤติแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ
(1) การประมวลข้อเท็จจริงก่อนศาลพิพากษาคดี ซึ่งเรียกว่า การสืบเสาะและพินิจ
(2) การคุมความประพฤติจำเลยตามคำพิพากษา ซึ่งเรียกว่า การควบคุมและสอดส่อง
15. ในการประมวลข้อเท็จจริงนั้นพนักงานคุมประพฤติจะทำการสอบปากคำเยาวชน ตลอดจนผู้ปกครองและพยานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ เช่น อายุ ประวัติ การศึกษาอบรม สภาพความผิด และสิ่งแวดล้อมของจำเลย เป็นต้น แล้วทำรายงานเสนอต่อศาล ในรายงานดังกล่าวนี้ พนักงานควบคุมประพฤติจะเสนอความเห็นและข้อเสนอแนะด้วยว่าควรจะใช้วิธีการใดกับจำเลยจึงเป็นการเหมาะสมและในการคุมประพฤติจำเลยตามคำพิพากษาของศาล พนักงานคุมประพฤติจะแจ้งให้จำเลยและผู้ปกครองทราบว่าศาลกำหนดเงื่อนไขคุมประพฤติอะไรบ้างและจะต้องรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติเมื่อไร เป็นต้น ในกรณีที่การคุมความประพฤติสำเร็จละล่วงไปด้วยดี พนักงานคุมประพฤติจะรายงานให้ศาลทราบพื่อปิดคดีแต่ในกรณีผิดเงื่อนไขหรือทำความผิดอีกในระหว่างคุมประพฤติจะรายงานให้ศาลทราบทันทีเพื่อดำเนินการต่อไป โดยส่วนรวมการคุมประพฤติได้ผลดีคือ ประมาณร้อยละ 85 ของเด็กและเยาชนผู้ถูกคุมความประพฤติทั้งหมดพ้นการคุมความประพฤติไปด้วยดี
16. หลักเกณฑ์ที่ศาลจะพิจารณาในการจะคุมความประพฤติจำเลยที่เป็นผู้ใหญ่ มีดังนี้
(1) ความผิดที่จำเลยกระทำต้องเป็นความผิดที่มีโทษจำคุก
(2) โทษจำคุกนั้นศาลจะลงจริง ๆ ไม่เกิน 2 ปี
(3) จำเลยไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน ยกเว้นความผิดฐานประมาทหรือลหุโทษ
(4) เมื่อเข้าองค์ประกอบ 3 ข้อข้างต้นแล้ว ศาลจะพิจารณาองค์ประกอบอื่น ๆ เกี่ยวกับจำเลยอีกเช่น อายุ ประวัติ การศึกษาอบรมและความประพฤติ เป็นต้น
17. การทำรายงานก่อนศาลพิพากษาคดี ซึ่งแยกออกเป็น 5 หัวข้อย่อยด้วยกันคือ
(1) คำสั่งให้สืบเสาะข้อเท็จจริง
(2) ประเภทของข้อเท็จจริง
(3) วิธีการเก็บรวบรวมข้อเท็จจริง
(4) การทำรายงานข้อเท็จจริง พร้อมทั้งความเห็น ข้อเสนอแนะ
(5) ระยะเวลาในการประมวลข้อเท็จจริงและทำรายงา ปัญหาและอุปสรรคในการประมวลข้อเท็จจริงและการทำรายงานเสนอต่อศาล
18. วิธีการเก็บรวบรวมข้อเท็จจริง ตามคู่มือพนักงานคุมประพฤติแบ่งออกเป็น 9 ขั้นตอน คือ
(1) การรวบรวมเอกสารประกอบสำนวน
(2) การเตรียมตัวก่อนพบจำเลย
(3) วิธีปฏิบัติเมื่อจำเลยไม่ไปพบพนักงานคุมประพฤติ
(4) การสอบปากคำจำเลย
(5) การตรวจสอบประวัติการกระทำผิด
(6) การตรวจสุขภาพและภาวะทางจิต
(7) การตรวจหาสารเสพติดในปัสสาวะ
(8) การสอบปากคำพยาน
(9) การออกไปสืบเสาะบ้านที่อยู่อาศํยของจำเลยและสภาพแวดล้อม
19. การทำรายงานข้อเท็จจริงพร้อมทั้งความเห็นและข้อเสนอแนะ จะต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้
(1) สภาพแห่งความผิดและพฤติการณ์แห่งคดี
(2) ประวัติการกระทำความผิด
(3) ประวัติส่วนตัวและครอบครัว
(4) สภาพสิ่งแวดล้อม
(5) การศึกษา
(6) การประกอบอาชีพ
(7) ฐานะทางเศรษฐกิจ
(8) นิสัยและความประพฤติ
(9) สุขภาพและภาวะทางจิต
(10) เหตุอันควรปรานี
(11) จำเลยต้องการวิธีคุมประพฤติหรือไม่
(12) สรุปข้อเท็จจริง
(13) ความเห็น
(14) ข้อเสนอแนะ
(15) เบ็ดเตล็ด
20. การทำรายงานข้อเท็จจริงหรือรายงานสืบเสาะและพินิจ พนักงานคุมประพฤติอาวุโสจะช่วยตรวจสอบก่อน แล้วเสนอผ่านหัวหน้าแผนกไปจนถึงผู้บังคับบัญชาสูงสุดตามลำดับ แล้วจะพิมพ์รายงานต้นฉบับ 1 ชุด และสำเนา 2 ชุด โดยส่งรายงานต้นฉบับไปยังศาลที่สั่งให้สืบเสาะและพินิจ รายงานนี้ถือเป็นความลับ ต้องตีตราลับส่งไปยังศาล
21. ในกรณีพนักงานคุมประพฤติไม่อาจส่งรายงานได้ทันภายในกำหนดเวลา 15 วัน ตามกฎหมายพนักงานคุมประพฤติอาจขอเลื่อนส่งรายงานออกไปได้อีกไม่เกิน 30 วัน แต่ในทางปฏิบัติส่วนมากพนักงานคุมประพฤติจะขอเลื่อนส่งรายงานออกไปไม่เกิน 1 สัปดาห์ โดยทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาล
22.
(1)
(2)
(3)
(4)
(5)
23.
24.
.
.
แบบประเมินตนเอง
---------------------
.......
หน่วยที่ 1
-----------
1. ข้อใดไม่เป็นลักษณะของการป้องกันอาชญากรรม
ตอบ ค. การป้องกันนคนเจ็บป่วยทางจิต
2. ข้อใดไม่เป็นการขัดเกลาทาง
ตอบ ง. การประหารชีวิต
3. วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันอาชญากรรม คือ
ตอบ ข. พยามลดโอกาสในการกระทำความผิด
4. ครอบครัวชนิดใดไม่ส่งเสริมการประกอบอาชญากรรม
ตอบ ก. ครอบครัว
5. วัดที่มีการจัดการด้านเงินทองจำนวนมาก ๆ อาจจะทำให้เกิดความเสียหายได้อย่าง
ตอบ ข. เกิดการคอรัปชั่น
6. สื่อมวลชนไทยไม่ให้ประโยชน์ในด้านใด
ตอบ ง. ความจริง
7. ทฤษฎีการเกิดกฏหมายอาญาเป็นผลมาจากข้อ
ตอบ ง. เป้นผลมาจากความต้องการอำนาจ
8. ข้อใดไม่เป็นหน้าที่ของทหาร
ตอบ ข. ยึดอำนาจ
9. ข้อใดไม่เป็นอุดมการณ์ในแก้ปัญหาอาชญากรรม
ตอบ ก. การทำลายล้าง
10. ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์ของการลงโทษ
ตอบ ก. การป้องกันอาชญากรรม
11. ข้อใดเป็นลักษณะของการป้องกัน
ตอบ ค. การป้องกันผู้กระทำผิดซ้ำ
12. ข้อใดเป็นการขัดเกลาทางสังคม
ตอบ ข. การให้การอบรม
13. ข้อใดมีความสำคัญที่สุดต่อการดำรงอยู่ของสมาคมป้องกันอาชญากรรม
ตอบ ก. การมีผู้นำที่มีความสามารถ
14. ครอบครัวชนิดใดที่ส่งเสริมการประกอบอาชญากรรม
ตอบ ก. ครอบครัวที่ผิดปกติในทางวัฒนธรรม
15. การคอรัปชั่นมักจะเกิดในหน่วยงานเช่นไร
ตอบ ข. หน่วยงานที่มีการจัดการด้านการเงินการทองจำนวนมาก ๆ
16. สื่อมวลชนทำให้เกิดอาชญากรรมได้อย่างไร
ตอบ ง. ถ่ายทอดพฤติกรรมของผู้ปั่นหุ้นที่ผิดกฎหมายบ่อย ๆ
17. ข้อใดเป็นทฤษฎีการเกิดกฎหมายอาญา
ตอบ ก. เพราะความขัดแย้งในเรื่องผลประโยชน์
18. ข้อใดเป็นหน้าที่ของทหาร
ตอบ ข. รักษาเอกราชของชาติ
19. ข้อใดเป็นอุดมการณ์ในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรม
ตอบ จ.ทุกข้อที่กล่าวมา คือ ก. การทำลายล้างเผ่าพันธุ์อาชญากรรม ข. การทำลายล้างพวกที่ส่อว่าจะเป็นอาชญากร ค. การทำลายล้างพวกชนกลุ่มน้อยที่ทำความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน ง. การประหารชีวิตนักโทษ
20. ข้อใดเป็นวัตถุประสงค์ของการลงโทษ
ตอบ ค. การแก้ไขความ
.
---------------------------------------
.
หน่วยที่ 2
-----------
1. ในการบริหารงานราชการโดยทั่วไป ข้อไหนไม่ใช่องค์ประกอบสำคัญ
ตอบ ง. วิชาการ
2. ระบบงานยุติธรรม หมายถึง ระบบงานอะไร
ตอบ ข. ระบบงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดที่เริ่มตั้งแต่การจับกุมเป็นต้นไป
3. ตำรวจจะควบคุมผู้ต้องหาไว้สอบสวนที่สถานีตำรวจได้ไม่เกินกี่วันตามกฎหมาย
ตอบ ง. 7 วัน
4. ในการจับกุมผู้ต้องสงสัยว่ากระทำความผิดทางอาญาเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ทำการจับกุมควรจะทำข้อใดจึงจะถูกต้องกับหน้าที่ตามกฎหมายที่สุด
ตอบ ก. ดำเนินการจับกุมโดยแจ้งข้อหาให้ผู้ที่จะถูกจับกุมทราบ
5. ข้อไหนไม่ใช่บทบาทของเจ้าหน้าที่ตำรวจไทยในปัจจุบัน
ตอบ ค. อยู่เวรยามตามร้านขายทองและธนาคาร
6. เมื่อได้รับสำนวนจากพนักงานสอบสวนแล้วพนักงานอัยการจะดำเนินการอย่างไรจึงจะถูกต้องตามหน้าที่ที่กฎหมายได้กำหนดไว้
ตอบ ง. พิจารณาสำนวนสอบสวนแล้วสั่งคดีไปตามที่เห็นสมควร
7. ทนายความมีบทบาทอย่างไรในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
ตอบ ง. มีบทบาทเป็นผู้ดำเนินการแทนจำเลยในการพิจารณาคดีในศาล
8. ระบบการพิจารณาคดีอาญาของไทยในปัจจุบันเป็นระบบอะไร
ตอบ ค. เป็นระบบควบคุมโดยฝ่ายบริหาร
9. ผู้พิพากษาที่ทำหน้าที่พิจารณาคดีอาญามีบทบาทอย่างไร
ตอบ ข. วางตนเป็นกลางและให้โอกาสแก่โจทก์และจำเลยต่อสู้คดีอย่างทัดเทียมกัน
10. ปัญหาของกรมราชทัณฑ์ที่เห็นได้ชัดในปัจจุบันคืออะไร
ตอบ ค. มีผู้ต้องขังและนักโทษเด็ดขาดล้นคุก
11. ในปัจจุบัน ระบบงานยุติธรรมที่เป็นระบบควบคุมอาชญากรรมใช้รูปแบบใดในการทำงานมากที่สุด
ตอบ ค. รูปแบบควบคุมอาชญากรรม
12. ปัจจัยเหตุ (input) ในการบริหารงานยุติธรรมหมายถึงข้อใด
ตอบ จ. อาชญากรรม
13. ปรัชญาที่มุ่งต่อการลงโทษมีใช้มากในระบบงานยุติธรรมเน้นวัตถุประสงค์ข้อใด
ตอบ ข. ยับยั้งหรือป้องกันอาชญากรรม
14. ปรัชญาที่มุ่งต่อการแก้ไขฟื้นฟูมีที่มาจากสำนักอาชญาวิทยาสำนักใด
ตอบ ค. สำนักโปซิตีฟ
15. ตามปรัชญาที่มุ่งต่อการให้ชุมชนมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรม อดีตผู้ต้องโทษที่จะกลับคืนไปสู่ชุมชน จะได้รับเข้าเป็นสมาชิกของชุมชนโดยวิธีใดมากที่สุด
ตอบ จ. ข้อ ก. และข้อ ข. รวมกัน คือ ก. โดยการแก้ไขฟื้นฟู ข. โดยการมีปฏิสัมพันธ์กับสมาชิกของชุมชน
16. การป้องกันอาชญากรรมก่อนเกิดอาชญากรรมโดยการควบคุมสภาพแวดล้อมมิให้เอื้ออำนวยต่อการประกอบอาชญากรรมนั้น จะต้องทำอย่างไร
ตอบ ก. โดยการออกแบบผังเมืองให้ดี
17. นโยบายของรัฐเกี่ยวกับงานยุติธรรมมีที่มาจากไหน
ตอบ จ. ถูกทุกข้อ คือ ก. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ข. นโยบายของรัฐบาลแต่ละรัฐบาล ค. มติของคณะรัฐมนตรีที่
เกี่ยวข้อง ง. แผนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการยุติธรรม
18. ระบบงานยุติธรรมระบบใดมีส่วนเกี่ยวข้องกับการป้องกันอาชญากรรม ก่อนที่อาชญากรรมจะเกิดขึ้นมากที่สุด
ตอบ ก. ตำรวจ
19. ระบบงานยุติธรรมมีจุดมุ่งหมายใหญ่ร่วมกันคืออะไร
ตอบ จ. ลดอาชญากรรม
20. ในประเทศไทยผู้เสียหายจะได้รับความช่วยเหลือจากรัฐในด้านเรียกค่าเสียหายอย่างไร
ตอบ ง. พนักงานอัยการจะฟ้องเรียกค่าเสียหายให้เฉพาะในคดีเกี่ยวกับทรัพย์บางฐานความ
.
--------------------------------------
.
หน่วยที่ 3
----------
1. ตำรวจคือใคร
ตอบ ข. เจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
2. ภารกิจพื้นฐานของตำรวจคืออะไร
ตอบ ง. การป้องกันอาชญากรรม
3. สิ่งที่ชี้ถึงประสิทธิภาพของตำรวจ คืออะไร
ตอบ ก. ความปลอดจากอาชญากรรมและความยุ่งเหยิง
4. ความมุ่งหมายในการจัดตั้งตำรวจภูธรขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือข้อใด
ตอบ ง. รักษาความสงบเรียบร้อยในส่วนภูมิภาค และปฏิบัติการทางทหารได้ด้วย
5. เจ้าหน้าที่ตำรวจมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ ยกเว้นข้อใด
ตอบ ข. รับคำร้องทุกข์หรือกล่าวโทษในคดีอาญา และ/หรือคดีแพ่งได้
6. ความมุ่งหมายการใช้ดุลยพินิจของตำรวจ คือข้อใด
ตอบ ง. เพื่อบังคับใช้กฎหมายให้เป็นไปตามหลักแห่งนิติธรรม
7. องค์การตำรวจมีลักษณะโครงสร้างคล้ายกับทหารเนื่องจากอะไร
ตอบ ค. ตำรวจมีวิวัฒนาการควบคู่กับทหารมาแต่เดิม ซึ่งมีลักษณะเป็นกองกำลังติดอาวุธ มีการจัดหน่วยงานและการบริหารงานบุคคลคล้ายทหาร
8. การจัดส่วนราชการกรมตำรวจของไทยในปัจจุบันนี้มีลักษณะเช่นไร
ตอบ ง. เป็นราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
9. การบริหารงานบุคคลของตำรวจยึดถืออะไรเป็นหลัก
ตอบ ข. ระบบการจำแนกตำแหน่งตามชั้นยศ
10. หลักเกณฑ์การพิจารณาแต่งตั้งเลื่อนตำแหน่งของกรมตำรวจ คือข้อใด
ตอบ ก. อาวุโส คุณวุฒิ และคุณสมบัติที่ดีของแต่ละบุคคล
.
---------------------------------------------
.
หน่วยที่ 4
-----------
1. การป้องกันอาชญากรรมที่ประสบผลสำเร็จนั้นย่อมขึ้นอยู่กับอะไร
ตอบ จ. ถูกทุกข้อ คือ ก. ประชาชนให้ความร่วมมือในการป้องกันตนเอง ข. ชุมชนมีส่วนร่วมในในการป้องกันอาชญากรรม ค. บทบาทของตำรวจในการช่วยเหลือชุมชนให้เข้มแข็ง สามารถใช้มาตรการควบคุมทางสังคมในการป้องกันอาชญากรรมมากยิ่งขึ้น ง. ชุมชนให้ความสำคัญต่อการควบคุมอาชญากรรมโดยสภาพแวดล้อม
2. ตำรวจสายตรวจมีหน้าที่ใด
ตอบ ง. ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม
3. ความมุ่งหมายเบื้องต้นของการสืบสวนสอบสวนคือข้อใด
ตอบ ค. เพื่อทราบว่ามีการกระทำความผิดเกิดขึ้นหรือไม่
4. การแก้ไขปัญหาการจราจรเป็นหน้าที่ของใคร
ตอบ จ. ตำรวจ เทศบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
5. ข้อใดที่มิได้ถือว่าเป็นอบายมุข
ตอบ ข. โรงภาพยนตร์
6. อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ คือข้อใด
ตอบ ค. การกระทำผิดเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจและการพาณิชย์
7. การรักษาความมั่นคงของชาติเป็นหน้าที่ของใคร
ตอบ ค. เป็นหน้าที่ของตำรวจทั้งทางตรงและทางอ้อม
8. ตำรวจชุมชนสัมพันธ์หมายถึงข้อใด
ตอบ ก. การดำเนินการอย่างเป็นกระบวนการเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างตำรวจกับประชาชนรวมทั้งการแก้ไขปัญหาร่วมกัน
9. การแก้ไขภาพลักษณ์ตำรวจนั้นพิจารณาได้จากอะไร
ตอบ ค. จากทัศนคติทั้งของประชาชนมีต่อตำรวจ และตำรวจมีต่อประชาชน
10. การตำรวจชุมชน คือข้อใด
ตอบ จ. ถูกทุกข้อ คือ ก. ปรัชญาของการตำรวจแนวใหม่ ข. ยุทธศาสตร์ในการทำงาน ค. การทำงานร่วมกันระหว่างตำรวจกับประชาชน ง. การกระจายบริการงานตำรวจลงสู่ระดับชุมชน
.
-------------------------------------------------
.
หน่วยที่ 5
-----------
1. แนวคิดของการมีทนายความยุคเก่าในประเทศไทยคือข้อใด
ตอบ ข. อำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนผู้มีอรรถคดี
2. แนวคิดที่ถือว่าทนายความเป็นสถาบันคือข้อใด
ตอบ ค. ประชาชนเห็นว่ามีประโยชน์และจำเป็นแก่การดำรงชีวิต
3. องค์กรควบคุมทนายความมีหน้าที่อย่างไร
ตอบ จ. กำกับดูแลทนายความ
4. หลักจริยธรรมของทนายความคือข้อใด
ตอบ ค. ความประพฤติของทนายความที่เกิดจากการมีคุณธรรมของทนายความ
5. มารยาททนายความหมายถึงอะไร
ตอบ ง. จรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพทนายความ
6. ข้อใดเป็นหน้าที่ของทนายความในการอำนวยความยุติธรรม
ตอบ จ. ถูกทุกข้อ คือ ก. การว่าความในศาล ข. การเป็นที่ปรึกษากฎหมาย ค. การเป็นผู้แทนทำนิติกรรมที่ใช้กฎหมายเป็นหลัก ง. การคุ้มครองผลประโยชน์ของประชาชน
7. การบริหารงานยุติธรรมหมายถึงข้อใด
ตอบ ก. การบริหารกระบวนการยุติธรรม
8. ข้อใดเป็นบทบาทของทนายความในการดำเนินคดีอาญา
ตอบ ก. ทำตามหน้าที่ของทนายความในการดำเนินคดีอาญา
9. ข้อใดเป็นบทบาทของทนายความในการดำเนินคดีแพ่งในปัจจุบัน
ตอบ จ. ช่วยลดคดีขึ้นสู่ศาลและช่วยให้ศาลพิจารณาคดีเสร็จเร็วขึ้น
10. บทบาทของทนายความในการดำเนินคดีเยาวชนและครอบครัวคือข้อใด
ตอบ ก. ที่ปรึกษากฎหมายของจำเลย
11. แนวคิดของการมีทนายความยุคใหม่หรือยุคปัจจุบันในประเทศไทย คือข้อใด
ตอบ จ. ข้อ ก. และข้อ ข. ประกอบกัน คือ ก. การอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชน ข. การอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน
12. ลักษณะหน้าที่ของทนายความและสภาทนายความชี้ให้เห็นอะไร
ตอบ ก. ความเป็นสถาบันทนายความ
13. คณะกรรมการสภาทนายความเป็นองค์กรประเภทใด
ตอบ ข. องค์กรผู้รับผิดชอบทั่วไป
14. ข้อใดเป็นหลักคุณธรรมของทนายความ
ตอบ จ. การมีใจเป็นกลาง
15. ข้อใดเป็นมรรยาทของทนายความในการคุ้มครองผลประโยชน์ของประชาชนที่เป็นลูกความ
ตอบ ง. ไม่จงใจขาดนัดหรือทอดทิ้งคดี
16. องค์กรใดมีบทบาทหรือทำหน้าที่ส่งเสริมความเป็นธรรมในสังคมในนามของสภาทนายความ
ตอบ ค. คณะกรรมการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย
17. ข้อใดเป็นบทบาทของทนายความในการดำเนินคดีอาญา
ตอบ จ. ถูกทุกข้อ คือ ก. การทำตามหน้าที่ที่กำหนดไว้ในกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ข. การทำตามหน้าที่ที่กำหนดไว้ในกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในส่วนที่จำเป็นต้องนำมาใช้ ค. การทำตามหน้าที่ที่กฎหมายอื่น และข้อบังคับที่ออกภายใต้บังคับของกฎหมายนั้นในส่วนที่เกี่ยวข้อง ง. การทำตามข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ
18. ข้อใดเป็นบทบาทของทนายความในการดำเนินคดีล้มละลาย
ตอบ ง. ข้อ ก. และ ข้อ ข. คือ ก. ให้คำปรึกษาแนะนำ ข. ดำเนินคดีแทนตัวความตามที่ตัวความมอบอำนาจ
19. พระราชบัญญัติจัดต้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานกำหนดให้ใครเป็นผู้คุ้มครองผลประโยชน์ของคู่กรณี
ตอบ ข้อ ก. และข้อ ข. คือ ก. ผู้พิพากษาที่เป็นข้าราชการตุลาการ ข. ผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้างและผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้าง
20. ใครเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการคุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐและเอกชนในการดำเนินคดีภาษีอากร
ตอบ ค. ศาลภาษีอากร
.....
-------------------------------------------------
......
หน่วยที่ 6
-----------
1. อัยการคือเจ้าพนักงานซึ่งมีหน้าที่อย่างไรในกระบวนการยุติธรรม
ตอบ ข. ยื่นฟ้องและดำเนินคดีอาญาในศาล
2. สำนักงานคดีอาญาในสำนักอัยการสูงสุดมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินคดีอาญาในเขตใด
ตอบ ค. กรุงเทพมหานครเฉพาะฝั่งพระนคร
3. ข้อใดเป็นคุณสมบัติสำคัญซึ่งอัยการทุกคนจะต้องมี
ตอบ ข. สอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักงานอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
4. ข้อใดไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของอัยการ
ตอบ ข. เรียกพยานมาสอบปากคำเพิ่มเติม
5. ในกรณีที่พนักงานสอบสวนส่งสำนวนการสอบสวนที่ไม่ปรากฎตัวผู้กระทำผิดมายังอัยการ อัยการจะสั่งคดีอย่างไรได้บ้าง
ตอบ ก. สั่งงดการสอบสวน
6. กรณีใดที่อัยการเคยสั่งไม่ฟ้อง ทั้ง ๆ ที่คดีนั้นมีพยานหลักฐานเพียงพอรับฟังว่าผู้ต้องหากระทำความผิด
ตอบ ข. สั่งไม่ฟ้องเพื่อกันผู้ต้องหาเป็นพยาน
7. ถ้าอัยการจังหวัดชลบุรีมีคำสั่งไม่ฟ้องคดีเรื่องหนึ่งจะต้องส่งสำนวนการสอบสวนและคำสั่งไม่ฟ้องไปให้ผู้ใดพิจารณา
ตอบ ก. ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี
8. ในกรณีที่อัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องต่อศาล ข้อต่อไปนี้ข้อใดไม่ถูกต้อง
ตอบ ก. อัยการไม่จำเป็นต้องมีตัวผู้ต้องหา ศาลก็ประทับรับฟ้องได้
9. กรณ๊ต่อไปนี้ ข้อใดอัยการไม่มีอำนาจดำเนินการแก้ต่างคดีแพ่ง
ตอบ ข. เมื่อรัฐวิสาหกิจถูกเอกชนฟ้อง
10. กรณีต่อไปนี้ข้อใดเป็นอำนาจหน้าที่ของอัยการในการคุ้มครองประโยชน์ของประชาชน
ตอบ ค. ยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งให้คนวิกลจริตเป็นคนไร้ความสามารถ
11. บทบาทของอัยการในการดำเนินคดีอาญาอยู่ในขั้นตอนใดของกระบวนการยุติธรรม
ตอบ ค. สั่งคดีและดำเนินคดีในศาล
12. สำนักงานที่ปรึกษากฎหมายมีอำนาจหน้าที่อย่างไร
ตอบ ข. ตำรวจพิจารณาร่างสัญญาที่ส่งมาจากส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ
13. ผู้ที่จะสมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นอัยการจะต้องมีคุณสมบัติข้อหนึ่งคือ ได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายมาแล้วไม่น้อยกว่า
กีปี
ตอบ ก. 2 ปี
14. ในกรณีที่พนักงานสอบสวนส่งสำนวนการสอบสวนที่ปรากฎตัวผู้กระทำความผิดมายังอัยการ ข้อต่อไปนี้ข้อใดที่อัยการสั่งคดีไม่ถูกต้อง
ตอบ ก. สั่งงดการสอบสวน
15. ถ้าอัยการในสำนักงานคดีอาญา สำนักงานอัยการสูงสุดมีคำสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา จะต้องส่งสำนวนการสอบสวนและคำสั่งไม่ฟ้องไปให้ผู้ใดพิจารณา
ตอบ ก. อธิบดีกรมตำรวจ
16. ในคดีวิสามัญฆาตกรรม เมื่ออธิบดีกรมอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาแล้ว จะต้องส่งสำนวนการสอบสวนไปให้ผู้ใดพิจารณาอีกหรือไม่
ตอบ จ. คำสั่งของอธิบดีกรมอัยการเป็นที่สุด ไม่ต้องส่งไปให้ผู้ใดอีก
17. บุคคลซึ่งจะทำการชันสูตรพลิกศพในคดีวิสามัญฆาตกรรม ได้แก่
ตอบ ก. อนามัยจังหวัด
18. ในการไต่สวนคดีวิสามัญฆาตกรรมในศาล ศาลจะต้องปิดประกาศแจ้งกำหนดวันที่จะทำการไต่สวนไว้ที่ศาลก่อนวันไต่สวนกี่วัน
ตอบ ข. 15 วัน
19. ในจังหว้ดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร เมื่อพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนคดีวิสามัญฆาตกรรมเสร็จสิ้นแล้ว จะต้องส่งสำนวนการสอบสวนไปยังผู้ใด
ตอบ ข. ผู้ว่าราชการจังหวัด
20. กรณีต่อไปนี้ ข้อใดมิใช่อำนาจหน้าที่ของอัยการ
ตอบ ง. แก้ต่างคดีอาญาให้พนักงานของรัฐวิสาหกิจ
.
----------------------------------
.
หน่วยที่ 7
-----------
1. ระบบอำนวยความยุติธรรมของประเทศไทยยึดหลักข้อใด
ตอบ ก. พระมหากษัตริย์เป็นที่มาของความยุติธรรม
2. ในสมัยอยุธยา ศาลใดมีอำนาจพิจารณาคดีที่เกี่ยวกับการค้าขายกับต่างประเทศ
ตอบ จ. ศาลกรมท่า
3. พระมหากษัตริย์พระองค์ใดแห่งกรุงศรีอยุธยาได้ทรงตรากฎหมายลักษณะพยานขึ้นเป็นครั้งแรก
ตอบ ก. พระเจ้าอู่ทอง
4. ประเทศไทยในสมัยอยุธยาได้เคยให้สิทธิสภาพนอกอาณาเขตแก่ชาวต่างประเทศในรัชกาลใด
ตอบ ค. พระนารายณ์มหาราช
5. ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ศาลในหัวเมืองฝ่ายเหนือขึ้นกับกระทรวงใด
ตอบ ข. กระทรวงมหาดไทย
6. ปัจจุบันมีศาลแขวงในประเทศไทยทั้งหมดกี่ศาล
ตอบ ง. 26 ศาล
7. ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ศาลแรงงานมีกี่ประเภท
ตอบ จ. มี 4 ประเภท คือ ศาลแรงงานกลาง ศาลแรงงานภาค และศาลแรงงานจังหวัด
8. กระทรวงยุติธรรมแบ่งส่วนราชการออกเป็นหน่วยงานใหญ่ ๆ กี่หน่วยงาน
ตอบ ง. 5 หน่วยงาน คือ ศาลฎีกา สำนักงานปลัดกระทรวง สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ กรมบังคับคดี และกรมคุมประพฤติ
9. ในทศวรรษที่ผ่านมา และที่กำลังจะมาถึง ได้มีการพัฒนาและวางแผนเพื่อพัฒนางานของศาลยุติธรรม โดยเน้นการแก้ไขปัญหาหลัก 2 ประการ ประการแรกได้แก่ข้อใด
ตอบ ข. ปัญหาความล่าช้าในการพิจารณาพิพากษาคดี
10. แผนแม่บทของกระทรวงยุติธรรมได้ระบุถึงการฝึกอบรมผู้พิพากษาหลายประเภท แต่ที่สำคัญน่าจะได้แก่ข้อใด
ตอบ ก. การฝึกอบรมผู้ช่วยผู้พิพากษา
11. ในสมัยอยุธยา ศาลใดมีอำนาจพิจารณาคดีที่เกี่ยวกับภาษีอากรและหนี้หลวง
ตอบ ง. ศาลกรมคลัง
12. ข้อใดเป็นหลักเกณฑ์ที่ยึดถือกันในการอำนายความยุติธรรมแก่ประชาชนในประเทศไทย
ตอบ ค. พระมหากษัตติย์เป็นที่มาของความยุติธรรม
13. กฎหมายลักษณะพยานได้ตราขึ้นเป็นกฎหมายฉบับแรกในสมัยอยุธยาโดยพระมหากษัตริย์พระองค์ใด
ตอบ ก. พระเจ้าอู่ทอง
14. ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ศาลในหัวเมืองฝ่ายใต้ขึ้นอยู่กับกระทรวงใด
ตอบ ค. กระทรวงกลาโหม
15. ประเทศไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ได้เคยให้สิทธิสภาพนอกอาณาเขตแก่ชาวต่างประเทศในรัชกาลใด
ตอบ ข. รัชกาลที่ 4
16. ปัจจุบันศาลแขวงในต่างจังหวัดทั่วประเทศไทยมีกี่ศาล
ตอบ ง. 20 ศาล
17. องค์คณะพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลเยาวชนและครอบครัวมีกี่คน ใครบ้าง
ตอบ จ. ผู้พิพากษาอย่างน้อย 2 คน และผู้พิพากษาสมทบ 2 คน และคนหนึ่งต้องเป็นสตรี
18. เจ้าพนักงานของหน่วยงานใดในกระทรวงยุติธรรมมีอำนาจหน้าที่สืบเสาะข้อเท็จจริงในกรณีผู้กระทำความผิดเป็นผู้ใหญ่แล้วทำรายงานเสนอต่อศาล
ตอบ ก. กรมคุมประพฤติ
19. ในทศวรรษที่ผ่านมาและที่กำลังจะมาถึง ได้มีการพัฒนาและวางแผนเพื่อพัฒนางานของศาลและกระทรวงยุติธรรมโดยเน้นแก้ไขปัญหาหลัก 2 ประการ ได้แก่ข้อใด
ตอบ จ. ปัญหาความไม่เสมอภาพกันของประชาชนทางด้านการได้รับบริการความยุติธรรมจากรัฐ
20. คณะกรรมการตุลาการผู้ทรงคุณวุฒิมีกี่ประเภท
ตอบ ก. 2 ประเภท
.
----------------------------------
.
หน่วยที่ 8
----------
1. ในคดีอาญา ตำรวจมีอำนาจควบคุมหรือขังผู้ต้องหาได้นานที่สุดกี่วัน
ตอบ ง. 7 วัน
2. ข้อใดคือลักษณะของการปล่อยชั่วคราว
ตอบ ก. ปล่อยชั่วคราวโดยไม่มีประกัน
3. กรณีใดที่รัฐมีหน้าที่ต้องจัดหาทนายให้จำเลย
ตอบ ค. จำเลยที่ถูกฟ้องมีอายุไม่เกิน 17 ปี
4. การพิจารณาและสืบพยานในศาลจะต้องกระทำอย่างไร
ตอบ ข. โดยเปิดเผยและต่อหน้าจำเลย
5. การพิจารณาคดีอาญาของเราเป็นระบบใด
ตอบ ค. ระบบกล่าวหา
6. หลักการสำคัญในการกำหนดโทษผู้กระทำความผิดคือ
ตอบ จ. ถูกทุกข้อ คือ ก. แก้ไขฟื้นฟูกระทำความผิด ข. แก้แค้นทดแทนความผิด ค. ยับยั้งผู้อื่น ง. ให้ผู้กระทำความผิดกลับตนเป็น
คนดี
7. โทษที่ศาลใช้ลงแก่ผู้กระทำความผิดมากที่สุด คือ
ตอบ ก. ปรับ
8. การอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในคดีอาญาต้องอุทธรณ์ในกี่วัน
ตอบ ข. 30 วันนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้น
9. คดีอาญาที่จะขอให้รื้อฟื้นขึ้นพิจารณาใหม่ได้ คือ
ตอบ ค. คดีที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษผู้กระทำความผิด
10. คำร้องของให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ต้องยื่นที่ศาลใด
ตอบ ข. ศาลชั้นต้นที่ได้พิพากษาคดีนั้น
11. ในคดีอาญา ตำรวจมีอำนาจควบคุมหรือขังผู้ต้องหาได้นานที่สุดกี่วัน
ตอบ ง. 7 วัน
12. ข้อใดที่มิใช่ลักษณะของการปล่อยชั่วคราว
ตอบ ก. ปล่อยชั่วคราวโดยไม่มีประกัน
13. กรณีที่รัฐมีหน้าที่ต้องจัดหาทนายให้จำเลย คือ
ตอบ ง. จำเลยถูกฟ้องในข้อหามีโทษจำคุกตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
14. การพิจารณาและสืบพยานในศาลจะต้องกระทำอย่างไร
ตอบ ข. โดยเปิดเผยและต่อหน้าจำเลย
15. การพิจารณาคดีอาญาของเราเป็นระบบใด
ตอบ ค. ระบบกล่าวหา
16. ข้อใดมิใช่หลักในการกำหนดโทษผู้กระทำความผิด
ตอบ ข. ให้ความพอใจแก่ผู้เสียหาย
17. โทษที่ศาลใช้ลงแก่ผู้กระทำความผิดมากที่สุด คือ
ตอบ ก. ปรับ
18. การฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีอาญาต้องฎีกาในระยะเวลาเท่าไร
ตอบ ค. 15 วัน นับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
19. คดีอาญาที่จะขอให้รื้อฟื้นขึ้นพิจารณาใหม่ไม่ได้คือข้อใด
ตอบ ง. คดีที่ศาลฎีการพิพากษายกฟ้อง
20. คำร้องของให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ต้องยื่นที่ศาลใด
ตอบ ข. ศาลชั้นต้นที่ได้พิพากษาคดีนั้น

.
----------------------------------
.
หน่วยที่ 9
-----------
1. ผู้กระทำความผิดที่มีโทษสถานใดที่ศาลในประเทศไทยอาจมีคำพิพากษาให้รอการลงโทษและคุมความประพฤติจำเลยได้
ตอบ ข. ผู้กระทำความผิดที่ศาลจะลงโทษจำคุกเกินกว่า 2 ปีขึ้นไป
2. ระบบการคุมประพฤติผู้กระทำความผิดที่เป็นผู้ใหญ่เริ่มใช้เป็นกิจจะลักษณะเป็นครั้งแรกในประเทศใด
ตอบ ค. ประเทศสหรัฐอเมริกา
3. ประเทศไทยนำระบบคุมประพฤติมาใช้กับผู้กระทำผิดที่เป็นเด็กและเยาวชนตั้งแต่เมื่อไร
ตอบ ง. ตั้งแต่ พ.ศ. 2495
4. ในประเทศไทยศาลจะสั่งให้สืบเสาะข้อเท็จจริงเกี่ยวกับจำเลยได้ตั้งแต่เมื่อไร
ตอบ ค. ตั้งแต่วันที่ศาลประทับฟ้องเป็นต้นไป
5. พนักงานคุมประพฤติจะต้องประมวลข้อเท็จจริงและทำรายงานเสนอต่อศาลภายในกี่วันนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง
ตอบ ข. 15 วัน
6. ข้อมูลประเภทไหนที่เกี่ยวกับจำเลยซึ่งตามกฎหมายเมื่อปรากฎต่อศาลแล้ว ศาลไม่อาจรอการลงโทษและคุมความประพฤติจำเลยได้
ตอบ ง. ข้อมูลเกี่ยวกับการที่จำเลยเคยต้องโทษจำคุกมาก่อน
7. ข้อไหนเป็นหลักการสำคัญในการสืบเสาะและพินิจจำเลย
ตอบ ก. การประมวลข้อเท็จจริงและการทำรายงาน
8. พนักงานคุมประพฤติประเภทไหนที่ทุกหน่วยงานถือว่าเป็นพนักงานคุมประพฤติที่ดีที่สุด
ตอบ ค. ผู้ควบคุมและผู้แก้ไขฟื้นฟู
9. ผู้ถูกควบคุมความประพฤติถ้าแบ่งออกตามลักษณะของบุคลิกภาพและปฏิกิริยาต่อสังคมจะแบ่งออกได้เป็นกี่ประเภท
ตอบ ข. 4 ประเภท
10. ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ พนักงานคุมประพฤติ 1 คน จะสามารถคุมความประพฤติจำเลยได้กี่คนใน 1 ปี
ตอบ ข. 50 คน
11. ตามกฎหมายเหี่ยวกับการคุมประพฤติ ศาลจะรอการลงโทษและคุมความประพฤติจำเลยได้นานที่สุดเท่าไร
ตอบ จ. ไม่เกิน 5 ปี
12. ตามกฎหมายศาลยุติธรรมในประเทศไทยจะสั่งให้พนักงานคุมประพฤติ สืบเสาะข้อเท็จจริงเกี่ยวกับจำเลยที่กระทำความผิดทางอาญาและทำรายงานเสนอต่อศาลภายในกี่วันนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง
ตอบ ข. 15. วัน
13. ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติทางด้านความรู้ของพนักงานคุมประพฤติตามที่ ก.พ. กำหนดไว้
ตอบ จ. ปริญญาตรีทางการศึกษา
14. ข้อไหนไม่ใช่องค์ประกอบในการแก้ไขฟื้นฟูจำเลยตามทฤษฎีแก้ไขเป็นรายบุคคล
ตอบ จ. หน่วยงานที่แก้ไข
15. ตามมาตรฐานของไทยโดยส่วนรวม พนักงานคุมประพฤติ 1 คน จะสามารถทำการสืบเสาะและพินิจจำเลยได้กี่คนใน 1 เดือน
ตอบ ก. 5 คน
16. ผู้ถูกคุมประพฤติ ข้อใดที่แก้ไขได้ยากที่สุด
ตอบ ก. ผู้กระทำความผิดด้วยความประมาท
17. ตามกฎหมายศาลยุติธรรมของไทยจะพิจารณาพิพากษาคดีรอการลงโทษและคุมความประพฤติผู้กระทำความผิดที่มีโทษอะไร
ตอบ ค. ผู้กระทำความผิดที่มีโทษจำคุกและศาลจะลงโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี
18. ผู้ที่ได้รับการขนานนามว่า "บิดาของการคุมประพฤติ" ได้แก่ท่านใด
ตอบ ข. จอห์น ออกัสตัส
19. ระบบคุมประพฤติผู้กระทำผิดที่เป็นผู้ใหญ่ เริ่มใช้ในประเทศไทยตั้งแต่เมื่อไร
ตอบ จ. พ.ศ. 2522
20. ระบบงานคุมประพฤติผู้ใหญ่ของไทยเป็นระบบ
ตอบ ง. ระดับกรม
.
-----------------------
.
หน่วยที่ 10
------------
1. งานราชทัณฑ์มีวิวัฒนาการมาจากการปฏิบัติต่อผู้กระทำความผิดในลักษณะใด
ตอบ ก. ความโหดร้ายทารุณ
2. งานราชทัณฑ์ในยุคก่อนศตวรรษที่ 18 มีลักษณะเด่นที่สำคัญอย่างไร
ตอบ ค. มุ่งลงโทษต่อร่างกายให้หลาบจำ
3. การราชทัณฑ์ที่เน้นการแก้ไขฟื้นฟูมีรูปแบบอย่างไร
ตอบ จ. ถูกทุกข้อ คือ ก. มุ่งแก้ไขผู้กระทำความผิด ข. มุ่งการจำแนกลักษณะผู้ต้องขัง ค. มุ่งใช้ระบบการลงโทษจำคุกแบบไม่ตายตัว ง. มุ่งพัฒนาให้ผู้ต้องขังเคารพตนเอง
4. วัตถุประสงค์ของการลงโทษจำคุกแบบไม่ตายตัวคือข้อใด
ตอบ ข. เพื่อเป็นการจูงใจให้ผู้ต้องขังประพฤติตนดี เพื่อจะได้ปล่อยตัวเร็วขึ้น
5. การราชทัณฑ์แบบมุ่งเน้นการบำบัดรักษา (Medical Model) มีลักษณะอย่างไร
ตอบ ง. มุ่งการลงโทษที่สอดคล้องกับตัวผู้ต้องขังมากกว่าความรุนแรงของการกระทำความผิด
6. การราชทัณฑ์ที่เน้นหนักการใช้ชุมชน (Community Corrections) มีลักษณะอย่างไร
ตอบ จ. ถูกทุกข้อ คือ ก. มุ่งลดจำนวนผู้ต้องขังในเรือนจำ ข. มุ่งให้โอกาสในการปรับตัวแก่ผู้ต้องขังก่อนกลับเข้าสู่สังคม ค.มุ่งใช้ปัจจัยชุมชนในการแก้ไขผู้ต้องขัง ง. เป็นมาตรฐานการทดแทนโทษจำคุกที่ไม่ได้ผล
7. ข้อใดบ้างที่เป็นหน้าที่ของกรมราชทัณฑ์
ตอบ จ. ถูกทุกข้อ คือ ก. ควบคุมผู้ต้องขังตามคำสั่งศาล ข. ให้การพัฒนาจิตใจ ค. ให้การฝึกอบรม ง. ให้ดูแลเรื่องสวัสดิการความเป็นอยู่ขณะต้องโทษ
8. เป้าหมายของเรือนจำในปัจจุบันมุ่งไปในทิศทางใด
ตอบ ก. ชักจูงให้ผู้ต้องขังเกิดความสำนึกผิด และกลับตนเป็นคนดี
9. นอกจากคำสั่งศาลแล้วเจ้าพนักงานเรือนจำจะรับบุคคลไว้คุมขังได้โดยคำสั่งผู้ใด
ตอบ ง. ถูกทั้งข้อ ก. และ ข. คือ ก. อัยการ ข. ผู้ว่าราชการจังหวัด
10. การราชทัณฑ์ยุคปัจจุบันเริ่มต้นเมื่อใด
ตอบ ก. เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
11. ข้อใดเป็นปรัชญาสำคัญของงานราชทัณฑ์
ตอบ จ. ถูกทุกข้อ คือ ก. การแก้แค้นทดแทน ข. การยับย้งป้องกัน ค. การตัดโอกาสผู้กระทำความผิด ง. การปรับปรุงแก้ไขผู้กระทำความผิด
12. หลักการราชทัณฑ์สมัยใหม่ที่ จอห์น โฮเวิร์ด กำหนดขึ้นนี้มีลักษณะอย่างไร
ตอบ ก. การจัดโครงสร้างเรือนจำที่เน้นความมั่นคงสุขลักษณะ และการแก้ไขฟื้นฟู
13. เรือนจำแห่งแรกตามแนวคิดของ จอห์น โอเวิร์ด มีชื่อว่าอะไร
ตอบ ข. เรือนจำวอลนัทสตรีท
14. ลักษณะเด่นของเรือนจำเพนซิลวาเนีย คือ ข้อใด
ตอบ ง. การขังเดี่ยวโดยเน้นการใช้แรงงาน
15. ลักษณะเด่นของเรือนจำแบบออเบิร์น คือข้อใด
ตอบ ก. การขังเดี่ยวในตอนกลางคืนและทำงานร่วมกันในตอนกลางวัน
16. ปรัชญาของงานราชทัณฑ์มีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย มีสาเหตุมาจากข้อใด
ตอบ ก. ความต้องการของสังคม และสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
17. ปรัชญาของงานราชทัณฑ์ที่ผ่านมาแต่ละยุค มีการเน้นหนักในเรื่องใดบ้าง
ตอบ จ. ถูกทุกข้อ คือ ก. การแก้แค้นทดแทน ข. การข่มขู่ยับยั้ง ค. การป้องกันสังคม ง. การแก้ไขผู้กระทำความผิด
18. ลักษณะของเรือนจำในประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นอย่างไร
ตอบ จ. ถูกทุกข้อ คือ ก. เรือนจำมีความหลากหลาย โดยแบ่งออกเป็นประเภทตามลักษณะเรือนจำและระดับความมั่นคง ข. มุ่งในการแก้ไขผู้ต้องขังมากกว่าการลงโทษ ค. มีการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังตามหลักกฎหมายและมีมนุษยธรรม ง. มีระบบการควบคุม และจำกัดบริเวณค่อนข้างน้อย
19. กรมราชทัณฑ์ที่เน้นการแก้ไขฟื้นฟู หมายถึงข้อใด
ตอบ ก. การมุ่งแก้ไขผู้ต้องขังโดยให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ที่เรือนจำจัดขึ้น
20. ข้อใดเป็นการให้สวัสดิการ และสงเคราะห์ผู้ต้องขัง
ตอบ จ. ถูกทุกข้อ คือ ก. การให้สวัสดิการในด้านปัจจัยสี่ ข. การรักษาพยาบาล ค. การเล่นกีฬา ง. การขายเครื่องอุปโภค
.
----------------------------------------------
.
หน่วยที่ 11
------------
1. นโยบายการบริหารและแผนงานราชทัณฑ์ต้องสอดคล้องกับเรื่องใดบ้าง
ตอบ จ. ทุกข้อที่กล่าวมา คือ ก. พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ ข. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ค. นโยบายของกระทรวงมหาดไทย ง. นโยบายของรัฐบาล
2. ปัจจัยเสริมในการบริหารงานราชทัณฑ์มีหัวข้อใดบ้าง
ตอบ จ. ทุกข้อที่กล่าวมา คือ ก. กฎหมาย ข. โครงสร้างเรือนจำ ค. การจำแนกลักษณะผู้ต้องขัง ง. การพัฒนาบุคลากร
3. การปฏิบัติต่อผู้กระทำความผิดในเรือนจำและทัณฑสถานครอบคลุมภารกิจในเรื่องใดบ้าง
ตอบ จ. ทุกข้อที่กล่าวมา คือ ก. การแก้ไขผู้กระทำความผิด ข. การควบคุมและรักษาระเบียบวินัย ค. การบำบัดรักษา ง. การดูแลเรื่องสวัสดิการ
4. การจำแนกลักษณะผู้ต้องขังหมายถึงข้อใด
ตอบ ก. กระบวนการทำความรู้จักกับผู้ต้องขังเป็นรายบุคคล เพื่อกำหนดวิธีการปฏิบัติให้เหมาะสม
5. ข้อใดเป็นวัตถุประสงค์ของการฝึกวิชาชีพผู้ต้องขัง
ตอบ จ. ทุกข้อที่กล่าวมา คือ ก. การใช้แรงงานผู้ต้องขังให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ข. ปลูกฝังวินัยการทำงานให้แก่ผู้ต้องขัง ค. ฝึกให้ผู้ต้องขังมีอาชีพติดตัวหลังพ้นโทษ ง. ช่วยในการปกครองเรือนจำ คือ ไม่ให้ผู้ต้องขังอยู่ว่าง
6. การลดวันต้องโทษจำคุก หมายถึงข้อใด
ตอบ ข. การให้วันลดโทษแก่นักโทษเด็ดขาดชั้นดีขึ้นไปไม่เกิดเดือนละ 3 วัน
7. การทำงานสาธารณะ หมายถึงข้อใด
ตอบ ค. การส่งออกไปทำงานสาธารณะประโยชน์แล้วได้รับวันลดโทษเท่ากับจำนวนวันทำงาน
8. ทัณฑนิคมแตกต่างจากเรือนจำชั่วคราวอย่างไร
ตอบ ค. ผู้ตัองขังในทัณฑนิคมได้รับกรรมสิทธิ์ในที่ดินคนละ 20 ไร่
9. การพักการลงโทษ หมายถึงข้อใด
ตอบ ก. การปล่อยตัวนักโทษเด็ดขาดที่ต้องโทษจำคุกแล้วระยะหนึ่งออกไปก่อนครบกำหนดโทษ
10. การจัดหางานให้ผู้ต้องขังต้องคำนึงถึงเรื่องใดบ้าง
ตอบ จ. ทุกข้อที่กล่าวมา คือ ก. กำหนดโทษ ข. ความแข็งแรงแห่งร่างกาย ค. สติปัญญา ง. อุปนิสัย
11. ข้อใดถือว่าเป็นนโยบายราชทัณฑ์ระหว่างประเทศ
ตอบ ข. ข้อกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำว่าด้วย กรปฏิบัติต่อผู้กระทำความผิดของสหประชาชาติ
12. ข้อใดคือลักษณะการแบ่งส่วนราชการของกรมราชทัณฑ์ในปัจจุบัน
ตอบ ก. ราชการบริการส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
13. ข้อใดคือวัตถุประสงค์ของการแยกขัง
ตอบ ค. เพื่อแบ่งแยกผู้ต้องขังต่างประเภทกันออก
14. ข้อใดไม่ใช่โทษทางวินัยของผู้ต้องขัง
ตอบ จ. จำตรวน
15. ข้อใดไม่ใช่การปฎิบัติต่อผู้กระทำความผิดในชุมชน
ตอบ จ. การส่งออกไปอยู่เรือนจำชั่วคราว
16. ในปัจจุบันกรมราชทัณฑ์ใช้มาตรการใดบ้างในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังในชุมชน
ตอบ ง. ถูกทั้งข้อ ก. และ ข. คือ ก. การพักการลงโทษ ข. การลดโทษวันต้องโทษจำคุก
17. การพักการลงโทษเป็นอำนาจของใคร
ตอบ ง. ราชทัณฑ์
18. นักโทษเด็ดขาดในคดีในดอาจได้รับอนุญาตให้ออกไปทำงานสาธารณะ
ตอบ จ. ความผิดฐานวางเพลิง
19. เงินที่ผู้ต้องขังได้รับจากการทำงานในเรือนจำเรียกว่าอะไร
ตอบ ก. เงินปันผล
20. ข้อใดไม่ใช่การแบ่งประเภทเรือนจำ
ตอบ จ. เรือนจำเคลื่อนที่
.
----------------------------------------------
.
หน่วยที่ 12
------------
1. ข้อใดเป็นวัตถุประสงค์ของการพักการลงโทษ
ตอบ จ. ให้ผู้ต้องขังได้รับอิสรภาพก่อนพ้นโทษจริงเพื่อปรับตัวเข้ากับสังคมภายนอก
2. การพักการลงโทษในประเทศไทยเริ่มนำมาใช้ในการปฏิบัติเมื่อใด
ตอบ ข. ภายหลังจากประกาศใช้ระเบียบกระทรวงมหาดไทยเรื่อง พักการลงโทษ พ.ศ. 2496
3. บุคคลใดได้นำระบบการให้คะแนน (Mark System) มาใช้
ตอบ ข. นาวาเอกอเล็กซานเดอร์ มาโคโนซี
4. นักโทษประเภทใดที่จะได้รับการพิจารณาให้พักการลงโทษ
ตอบ ก. นักโทษชั้นดี
5. การพักการลงโทษในประเทศอังกฤษได้กำหนดให้ผู้ต้องขังที่ต้องโทษจำคุกไม่ต่ำกว่า 3 ปี จะได้พักการลงโทษเมื่อรับโทษแล้วเป็นเวลาเท่าใด
ตอบ ก. ไม่น้อยกว่า 12 เดือน
6. เหลืองเป็นนักโทษชั้นเยี่ยมต้องโทษจำคุกตามคำพิพากษาเป็นเวลา 3 ปี ตามเกณฑ์การพักลงโทษ เหลืองจะได้พักการลงโทษเท่าใด
ตอบ ข. ไม่เกินหนึ่งใน 3 ของกำหนดโทษ 3 ปี
7. การทดสอบจิตใจของนักโทษคือ ข้อใด
ตอบ ข. การตรวจสอบว่านักโทษคนนั้นเป็นคนดีสมควรจะได้พักการลงโทษหรือไม่
8. บุคคลใดต่อไปนี้เป็นผู้กำหนดเงื่อนไขการพักการลงโทษ
ตอบ จ. คณะกรรมการพิจารณาพักโทษลงโทษ
9. ผู้ได้รับการพักการลงโทษที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขจะถูกดำเนินการอย่างไร
ตอบ จ. ถูกทุกข้อ คือ ก. ถูกลงโทษทางวินัย ข. ถูกเพิกถอนการพักการลงโทษ ค. ถูกส่งกลับเข้าจำคุกตามกำหนดเวลาที่เหลือ ง. ถูกจับกุมโดยไม่ต้องมีหมายจับ
10. การสอดส่องดูแลความประพฤติผู้ได้รับการพักการลงโทษมีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร
ตอบ ก. ช่วยเหลือผู้ถูกการลงโทษ
11. ข้อใดไม่ใช่การปฏิบัติต่อผู้ถูกพักการลงโทษที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไข
ตอบ จ. รอการพักลงโทษต่อไปโดยไม่มีกำหนด
12. ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้กำหนดให้นักโทษที่ถูกจำคุกตลอดชีวิตจะต้องขอให้มีการพักการลงโทษได้เมื่อนักโทษผู้นั้นได้รับโทษมาแล้วเป็นเวลาเท่าใด
ตอบ ข. 10 ปี
13. ประธานคณะกรรมการพิจารณาพักการลงโทษสำหรับเรือนจำกลางคือบุคคลใด
ตอบ ข. ผู้บัญชาการเรือนจำ
14. การทดสอบจิตใจนักโทษเด็ดขาดมีวิธีการอย่างไร
ตอบ จ. ให้ออกไปทำงานสาธารณะภายนอกเรือนจำ
15. ภายหลังที่เรือนจำและทัณฑสถานเสนอชื่อนักโทษเด็ดขาดที่มีคุณสมบัติที่จะได้พักการลงโทษแล้วทางเรือนจำจะต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ ข. ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาให้พักการลงโทษ
16. การพักการลงโทษได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศใด
ตอบ ก. อังกฤษ
17. ระบบการให้คะแนน (Mark System) มีความสัมพันธ์กับเรื่องใด
ตอบ ข. มีความสัมพันธ์กับการปลดปล่อยผู้ต้องขัง
18. งานคุมประพฤติผู้ได้รับการพักการลงโทษจะเริ่มต้นเมื่อใด
ตอบ ง. ภายหลังที่ได้อนุมัติให้พักการลงโทษ
19. บุคคลใดเป็นผู้สอดส่องดูแลความประพฤติของผู้ได้พักการลงโทษ
ตอบ จ. ข้อ ข. และข้อ ค. ถูก คือ ข. พนักงานคุมประพฤติ ค. เจ้าหน้าที่เรือนจำและทัณฑสถานผู้ผ่านการอบรม
20. ข้อใดเป็นทฤษฎีการพักการลงโทษ
ตอบ จ. ทฤษฎีกรุณาสัญญา และควบคุม
.
----------------------------------------------
.
หน่วยที่ 13
------------
1. ข้อใดไม่เป็นความมุ่งหมายของการประสานงาน
ตอบ จ. ส่งเสริมการแข่งขันในการทำงาน
2. ข้อใดไม่เป็นเงื่อนไขของการประสานงานที่มีประสิทธิผล
ตอบ ง. มีการใช้ความสามารถอย่างเต็มที่
3. ข้อใดไม่เป็นหน้าที่ขององค์กรราชทัณฑ์
ตอบ ค. การคุ้มครองสิทธิบุคคล
4. ข้อใดไม่เป็นวัตถุประสงค์ในการวิจัยทางอาชญาวิทยา
ตอบ ง. เพื่ออธิบายพฤติกรรมสังคม
5. ข้อใดไม่เป็นหลักงบประมาณที่สำคัญ
ตอบ ค. ทำความเข้าใจวิธีปฏิบัติงาน
6. กรมราชทัณฑ์ประสานงานกับกรมการปกครองในเรื่องใด
ตอบ ข. เรื่องทะเบียนราษฎร์ของผู้ต้องขัง
7. ตำรวจประสานงานกับกระทรวงกลาโหมในเรื่องใด
ตอบ ค. การกวาดล้างผู้ก่อการร้าย
8. เจ้าพนักงานตำรวจประสานงานกับโรงเรียนในเรื่องใด
ตอบ จ. แนะนำนักเรียนเกี่ยวกับปัญหายาเสพติด
9. องค์กรยุติธรรมประสานงานกับประชาชนในเรื่องใด
ตอบ จ. การให้การศึกษาแก่ผู้ต้องขัง
10. ข้อใดไม่ใช่สายบังคับบัญชาขององค์กรตำรวจ
ตอบ ข. กองสวัสดิการ
11. ข้อใดเป็นความมุ่งหมายของการประสานงาน
ตอบ ง. ลดความขัดแย้งระหว่างเจ้าหน้าที่
12. ข้อใดเป็นเงื่อนไขของการประสานงานที่มีประสิทธิผล
ตอบ ข. การติดต่อสื่อสารอย่างชำนิชำนาญ
13. ข้อใดเป็นหน้าที่ขององค์กรราชทัณฑ์
ตอบ ข. การควบคุมผู้กระทำความผิด
14. ข้อใดเป็นวัตถุประสงค์ของการวิจัยทางอาชญาวิทยา
ตอบ ง. การทำนายการเกิดอาชญากรรม
15. ข้อใดเป็นหลักงบประมาณที่สำคัญเรื่องการประสานงานระหว่างองค์กรยุติธรรม
ตอบ ก. การกำหนดรายละเอียดของงาน
16. กรมราชทัณฑ์ประสานงานกับกระทรวงศึกษาธิการในเรื่องใด
ตอบ ข. การศึกษาวิชาสามัญ
17. องค์กรตำรวจประสานงานกับสำนักนายกรัฐมนตรีในเรื่องใด
ตอบ ข. การทุจริตคอรัปชั่น
18. ศาลติดต่อประสานงานกับกระทรวงการคลังในเรื่องใด
ตอบ ก. พรบ. ศุลการกร
19. ข้อใดไม่เป็นหน่วยงานในองค์กรคุมประพฤติ
ตอบ ง. กองพัฒนาพฤตินิสัย
20. ข้อใดไม่เป็นหน่วยงานในองค์กรราชทัณฑ์
ตอบ ก. กองกิจการชุมชน

.
----------------------------------------------
.
หน่วยที่ 14
------------
1. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและควบคุมอาชญากรรมมีในระบอบการปกครองรูปแบบใด
ตอบ จ. มีในระบอบการปกครองทุกรูปแบบ
2. แนวคิดที่ถูกต้องในการป้องกันและควบคุมอาชญากรรมได้แก่ข้อใด
ตอบ ง. เป็นหน้าที่ของรัฐและประชาชนทุกคน
3. แนวคิดในการป้องกันอาชญากรรมในประเทศญี่ปุ่น เน้นหนักในข้อใด
ตอบ ข. โรงเรียนทุกระดับ โรงงานที่มีเยาวชนทำงานอยู่ และสถาบันครอบครัว
4. แนวคิดในการป้องกันอาชญากรรมในประเทศสหรัฐอเมริกา เน้นหนักข้อใด
ตอบ จ. ข้อ ค. และ ข้อ ง. คือ ค. ความปลอดภัยของนักเรียนชั้นประถมและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้อยู่อาศัยในบ้านเรือน และข้อ ง. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้ประกอบการภาคเอกชน
5. ข้อใดเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรม
ตอบ ก. พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534
6. เหตุการณ์ข้อใดที่ประชาชนอาจเข้าไปมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมอาชญากรรม
ตอบ จ. ถูกทุกข้อ คือ ก. เห็นนักโทษกำลังหลบหนีจากเรือนจำ ข. เห็นคนกำลังทำลายวัตถุหรือสถานที่อันเป็นที่เคารพในศาสนา ค. เห็นคนก่อความวุ่นวายขึ้นในเวลาที่ศาสนิกชนประชุมกันนมัสการหรือกระทำพิธีกรรมตามลัทธิศาสนาใด ๆ โดยชอบด้วยกฎหมาย ง. เห็นคนกำลังวางเพลิงเผาทรัพย์ผู้อื่น
7. ข้อใดหมายถึงรูปแบบของการมีส่วนร่วมของประชาชนในประเทศญี่ปุ่นในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิด
ตอบ ค. การมีส่วนร่วมของประชาชนโดยการรับผู้กระทำความผิดออกไปทำงานร่วมกันนอกเรือนจำ
8. ข้อใดหมายถึงรูปแบบของการมีส่วนร่วมของปชะชนในประเทศสหรัฐอเมริกาในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิด
ตอบ จ. ถูกทุกข้อ คือ ก. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดที่พ้นโทษ ข. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดที่อยู่ระหว่างพักการลงโทษ ค. ถูกทั้งข้อ ก. และข้อ ข. และ ง. ความร่วมมือของนายจ้าง
9. การมีส่วนร่วมของประชาชนไทยในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดในความรับผิดชอบของกรมราชทัณฑ์มีรูปแบบตามข้อใด
ตอบ ก. ดำเนินการในรูปอาสาสมัครคุมประพฤติและดำเนินการในรูปองค์การซึ่งเรียกว่ามูลนิธิอาสาสันติสุข
10. ปัจจัยที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมได้แก่ข้อใด
ตอบ ค. การยกย่องให้เกียรติ
11. ข้อใดเป็นผลดีของการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรม
ตอบ จ. ถูกทั้งข้อ ก. และ ข. คือ ก. แก้ปัญหาขาดงบประมาณ ข. แก้ปัญหาเจ้าหน้าที่ของรัฐมีไม่เพียงพอดำเนินการ
12. แนวคิดในการควบคุมอาชญากรรมในประเทศญี่ปุ่น เน้นหนักข้อใด
ตอบ ก. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของอาชญากรผู้กระทำความผิดให้สามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมต่อไปได้เช่นเดียวกับคนธรรมดาทั่วไป
13. แนวคิดในการควบคุมอาชญากรรมในประเทศสหรัฐอเมริกา เน้นหนักข้อใด
ตอบ จ. ให้ผู้กระทำความผิดมีความหวังและโอกาสกลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้เช่นเดียวกับคนธรรมดาทั่วไป
14. ข้อใดเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรม
ตอบ จ. ถูกทุกข้อ คือ ก. ประมวลกฎหมายอาญา ข. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ค. พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534
15. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและควบคุมอาชญากรรมตามที่มีกฎหมายบัญญัติมีกี่ลักษณะอะไรบ้าง
ตอบ ง. มี 3 ลักษณะ คือ เป็นหน้าที่ของประชาชน เป็นสิทธิของประชาชน และเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐชั่วคราว
16. ข้อใดคือรูปแบบของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและควบคุมอาชญากรรมตามที่มีกฎหมายบัญญัติ
ตอบ ง. ถูกทั้งข้อ ก. และ ข. คือ ก. การแจ้งความเกี่ยวกับการตายโดยผิดธรรมชาติ ข. การเข้าช่วยผู้ที่ตกอยู่ในอันตราย
17. การมีส่วนร่วมของประชาชนในงานด้านตำรวจในประเทศญี่ปุ่นมีกี่ลักษณะอะไรบ้าง
ตอบ ข. มี 3 ลักษณะ คือ ประชาชนจัดตั้งองค์การขึ้นดำเนินการเอง ตำรวจเป็นฝ่ายจัดตั้งกลุ่มประชาชนขึ้นในชุมชน และการช่วยตำรวจจับผู้กระทำความผิดและการให้ความร่วมมือกับตำรวจช่วยชีวิตผู้อื่น
18. ข้อใด คือรูปแบบของการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการทางศาลในประเทศสหรัฐอเมริกา
ตอบ จ. ถูกทั้งข้อ ก. และข้อ ค. คือ ก. การเป็นพยานในศาล ค. การเป็นคณะลูกขุน
19. ข้อใดจัดเป็นตัวอย่างของรูปแบบของการมีส่วนร่วมของประชาชนด้านสวัสดิการสังคมในประเทศสหรัฐอเมริกา
ตอบ จ. ถูกทั้งข้อ ก. ข้อ ข. และข้อ ค. คือ ก. สมาคมครูและผู้ปกครอง มลรัฐยูท่าห์ ข. สมาคมสตรีมลรัฐยูท่าห์ ค. สภาการโฆษณา
20. การมีส่วนร่วมของประชาชนไทยในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดในความรับผิดชอบของกรมคุมประพฤติมีรูปแบบตามข้อใด
จ. ถูกทั้งข้อ ข. และข้อ ค. คือ ข. ดำเนินการในรูปองค์การซึ่งเรียกว่าสมาคมอาสาสมัครคุมประพฤติ ค. ดำเนินการในรูปอาสาสมัครคุมประพฤติ
.
----------------------------------------------
.
หน่วยที่ 15
------------
1. สถานีตำรวจแบบทดลองแบ่งงานของสถานีออกเป็นกี่งาน
ตอบ ง. 5 งาน คือ งานธุรการ งานป้องกันและปราบปราม งานจราจร และงานสืบสวน
2. พรบ. สภาทนายความ 2528 ตามทรรศนะของคณะผู้บริหารควรจะมีการแก้ไขปรับปรุงเรื่องอะไร
ตอบ ก. แก้ไขนิยาม "ทนายความ" ให้ครอบคลุมถึงที่ปรึกษากฎหมายด้วย
3. ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ. 2535 ข้อใดเป็นภารกิจหลักของสำนักงานอัยการสูงสุด
ตอบ จ. การอำนวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและการคุ้มครองสิทธิและผลประโยชน์ของประชาชน
4. สภาพของปัญหาที่ปรากฎอยู่ในการอำนวยความยุติธรรมของศาลได้แก่ข้อใด
ตอบ จ. ความล่าช้าในการพิจารณาพิพากษาคดี ความไม่เสมอภาคของประชาชนในการได้รับความยุติธรรมจากรัฐ และประชาชนขาดความมั่นคงและปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
5. กรมคุมประพฤติ มีแนวความคิดและทิศทางงานคุมประพฤติใน 5 ปีคือข้อใด
ตอบ จ. ทุกข้อที่กล่าวมา คือ ก. พัฒนาการบริหารและจัดการคดี ข. พัฒนาวิธีปฏิบัติงานคดี ค. พัฒนาระบบ รูปแบบวิธีการแก้ไขและสงเคราะห์ผู้กระทำความผิด ง. พัฒนาบทบาทอำนาจหน้าที่และศักยภาพในการปฏิบัติงานคุมประพฤติ
6. ข้อใดเป็นสาระสำคัญของการปรับปรุงและพัฒนางานราชทัณฑ์
ตอบ จ.การควบคุมผู้ต้องขัง การแก้ไขพัฒนานิสัยของผู้ต้องขังอย่างมีประสิทธิภาพและการเสริมสร้างสมรรถนะในการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ
7. พุทธธรรมหมวดใดที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในกระบวนแก้ไขเปลี่ยนแปลงและพัฒนาระบบงานยุติธรรม
ตอบ ค. อริยสัจ 4
8. ในการที่จะพัฒนาให้ระบบงานตำรวจเป็นระบบงานที่พึงประสงค์ จะต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาข้อใด
ตอบ จ. ทุกข้อที่กล่าวมา คือ ก. โครงสร้างและการบริหารงานกรมตำรวจ ข. ยศของตำรวจ ค. เทคโนโลยีของตำรวจ ง. คุณภาพของตำรวจ
9. ในการจะพัฒนาระบบงานอัยการให้เป็นระบบงานที่พึงประสงค์ จะต้องปรับปรุงและพัฒนาข้อใดนอกเหนือไปจากให้อัยการมีอำนาจควบคุมการสอบสวนคดีของตำรวจ
ตอบ ก. พนักงานอัยการจะต้องมีคุณภาพ คุณธรรม และคุณประโยชน์
10. ข้อใดเป็นข้อแรกของข้อเสนอในการปรับปรุงคุณภาพของศาลชั้นต้น
ตอบ ก. ฝึกอบรมผู้ช่วยผู้พิพากษาให้ดียิ่งขึ้น
11. ตามโครงสร้างสถานีตำรวจที่ปรับปรุง แบ่งงานของสถานีตำรวจออกเป็นก่ฝ่ายอะไรบ้าง
ตอบ จ. 3 ฝ่าย คือ อำนวยการและสนับสนุน ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม และสืบสวนและสอบสวน
12. ถ้าจะมีกฎหมายควบคุมโนตารีปับลิก หรือผู้รับรองความถูกต้องแท้จริงของผู้ลงลายมือชื่อในเอกสาร พรบ. ใดที่เอกสารการสอนนี้เสนอให้มีอำนาจควบคุม
ตอบ ข. พรบ. ทนายความ
13. ตามข้อเสนอของคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่แต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรีเมือ พ.ศ. 2526 เกี่ยวกับการออกหมายจับและหมายค้นนั้น ใครเป็นผู้มีอำนาจออกหมายจับและหมายค้น
ตอบ ค. ศาล
14. ข้อใดเป็นความคาดหวังของประชาชนและรัฐบาลต่อศาลและกระทรวงยุติธรรม
ตอบ จ. ทุกข้อที่กล่าวมา คือ ก. การบริการของศาลและกระทรวงยุติธรรมมีความสะดวกรวดเร็วเป็นที่ประทับใจของประชาชน
ข. การบริการของศาลและกระทรวงยุติธรรมกระจายไปยังประชาชนอย่างทั่วถึง ใกล้ชิดและเสมอภาค ค. ศาลและกระทรวงยุติธรรมสามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ง. ศาลและกระทรวงยุติธรรมปฏิบัติราชการด้วยความมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
15. ในการควบคุมผู้ต้องขังอย่างมีประสิทธิภาพ กรมราชทัณฑ์กำหนดวัตถุประสงค์ และกลยุทธ์ในการดำเนินงานไว้อย่างไร
ตอบ จ. ทุกข้อที่กล่าวมา คือ ก. ปรับปรุงโครงสร้างเรือนจำและทัณฑสถาน ข. จำแนกลักษณะผู้ต้องขัง ค. จัดบุคลากรควบคุมผู้ต้องขังให้เหมาะสม ง. ปรับปรุงกฎหมายและระเบียบข้อบังคับและนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการบริหาร
16. ในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดในกระบวนการยุติธรรม ผู้กระทำจะใช้กลวิธีข้อใดเป็นหลัก
ตอบ ค. กลวิธีใช้อำนาจบังคับ
17. การปรับปรุงคุณภาพของศาลสูง ควรจะทำอย่างไร
ตอบ จ. ทุกข้อที่กล่าวมา คือ ก. ปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการอุทธรณ์ฎีกา ข. ปรับปรุงคุณภาพของศาลชั้นต้น ค. ปรับปรุงคุณภาพของผู้พิพากษาศาลสูง ง. ปรับปรุงโครงสร้างของศาลสูงโดยเฉพาะศาลอุทธรณ์
18. กรมคุมประพฤติจะจัดหางานหรือฝึกวิชาชีพแก่ผู้ถูกคุมความประพฤติที่ต้องการ อย่างมีประสิทธิและเกิดประสิทธิผลได้อย่างไร
ตอบ ค. เข้าเป็นพันธมิตรเชิงหุ้นส่วนกับหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชนที่จัดบริการดังกล่าวอยู่แล้ว
19. ข้อใดจะทำให้ระบบงานราชทัณฑ์เป็นระบบงานที่พึงประสงค์
ตอบ จ. ให้มีเรือนจำและทัณฑสถานอย่างเพียงพอสะอาดถูกสุขอนามัย มีการจำแนกลักษณะผู้ต้องขังอย่างจริงจัง และจัดสวัสดิการ ตลอดจนให้การสงเคราะห์ผู้ต้องขังให้ได้ตามมาตรฐานขั้นต่ำของสหประชาชาติ
20. ระบบงานยุติธรรมบูรณาการจะเกิดขึ้นได้อย่างไร
ตอบ จ. ทุกข้อที่กล่าวมา คือ ก. มีการบูรณาการทางโครงสร้าง ข. การบูรณาการโดยการจัดให้บุคลากรทุกระบบงานเข้าใจวัตถุประสงค์ใหญ่ของงานยุติธรรมร่วมกัน ค. การบูรณาการด้วยการจัดให้มีคณะกรรมการประสานงาน ง. การบูรณาการด้วยการจัดคณะกรรมการประสานแผน
.
.
.